ไทยยูเนี่ยน ร่วมโครงการประชารัฐ สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น

ผู้คนและชุมชนเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของ SeaChange® กลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน 

Thiraphong Chansiri, Thai Union's CEO, speaks with principals and teachers during school visits in Petchaburi and Prachuab Kirikhun.

การดำเนินงานของบริษัทจะต้องยึดเสาหลักความยั่งยืนนี้ เพื่อจะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่อาศัยและผู้ที่ทำงานอยู่ในภูมิภาคซึ่งไทยยูเนี่ยนมีการดำเนินธุรกิจอยู่ นอกจากนี้ยังต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ หนึ่งในตัวอย่างของการทำงานด้านนี้ คือ การเข้าร่วมโครงการประชารัฐ ของภาครัฐที่ร่วมมือกับบริษัทเอกชนต่างๆ

ในปีที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินงานโครงการประชารัฐ 2 โครงการ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กนักเรียนจาก 30 โรงเรียน ครอบคลุม 4 จังหวัด ในพื้นที่ที่ไทยยูเนี่ยนมีการดำเนินงาน และพื้นที่ใกล้เคียง

โครงการแรกคือ การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Basic Education & Human Capital Development) ภายใต้โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า CONNEXT ED ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ จะอยู่ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ที่ไทยยูเนี่ยนได้เข้าไปมีส่วนร่วม

CONNEXT ED มีเป้าหมายที่จะลดความเหลื่อมล้ำในสังคม พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักเรียนในโรงเรียน ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.) นอกจากนี้โครงการได้พัฒนาเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่จากบริษัทเอกชนต่างๆ ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่เติบโตและเรียนรู้การเป็นผู้นำผ่าน Action Learning Project ด้วยการร่วมคิดร่วมวางแผนกลยุทธ์กับผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้นำชุมชน และนักเรียน ในการพัฒนานักเรียนให้เป็น “เด็กเก่ง เด็กดี” ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ไทยยูเนี่ยน คือ 1 ใน 12 บริษัทภาคเอกชน ที่ร่วมมือในการทำงานโครงการดังกล่าว โดยให้คำปรึกษา และสนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการนี้ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้แต่งตั้งผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพของบริษัทให้เป็น School Partners ซึ่งเป็นอาสาสมัครจากในไทยยูเนี่ยน จำนวน 10 คน โดยมีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลโรงเรียนจำนวน 30 โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

อาสาสมัครเหล่านี้จะร่วมกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูอาจารย์ และผู้นำชุมชนในการพัฒนาการศึกษา โดยมีแนวทางที่บริษัทกำหนดไว้ 4 ประการ คือ

  • การดำเนินการจัดอบรมสำหรับการพัฒนาคุณภาพครูในหลากหลายหัวข้อ เช่น การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการให้แก่ครูวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (STEM for teachers) หรือการสร้างเสริมความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ และการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานและการออกแบบหลักสูตร (Project Based Learning)
  • กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนเพื่อให้เกิดความสนใจในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
  • เพิ่มพูนความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนด้วยกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์
  • การมอบชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ และอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น ชุดอุปกรณ์คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori คือการพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน) อุปกรณ์สอนวิชาทำอาหารต่างๆ อุปกรณ์ประกอบการสอนวิชาชีพต่างๆ เช่น ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การทำดอกไม้จันทร์ รวมไปถึงการมอบเครื่องดนตรีให้กับโรงเรียน

ทั้งนี้ ในปี 2561 ไทยยูเนี่ยนจะยังคงให้การสนับสนุน 30 โรงเรียนเดิม และจะเพิ่มการสนับสนุนอีก 10 โรงเรียนภายใต้โครงการ CONNEXT ED นี้

คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทยยูเนี่ยน ได้เข้ามามีบทบาทโดยตรงในโครงการนี้ร่วมกับทีมอาสาสมัครไทยยูเนี่ยน ซึ่งรวมถึงการเยี่ยมชมโรงเรียนหลายแห่งเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนในโครงการอีกด้วย สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/connexted.th/videos/1817163134974313/

“คนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไทยยูเนี่ยนได้เข้าไปดำเนินกิจการ คือ ส่วนสำคัญของความสำเร็จขององค์กร” นายธีรพงศ์ กล่าว “อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มากกว่านั้น คือ การทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี และทำในสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อยกระดับวิถีชีวิตของคนรอบตัวเรา”

ในขณะเดียวกัน ไทยยูเนี่ยนยังมีส่วนร่วมริเริ่มในโครงการประชารัฐอื่นๆ ในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ประชารัฐรักสามัคคีสมุทรสาคร โดยการสนับสนุนธุรกิจชุมชน และช่วยให้ธุรกิจเหล่านั้นสามารถคงอยู่ในธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น

Thiraphong Chansiri, Thai Union’s CEO, visits a pottery community at Don Kai Dee village, where Benjarong is crafted, in Samut Sakhon.

ประชารัฐรักสามัคคีนี้จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระดับรากหญ้า และช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้มากขึ้น

ไทยยูเนี่ยน ได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน 3 ด้านด้วยกัน คือ

  1. ด้านเกษตรกรรม ในการสนับสนุนการแก้ปัญหาของการระบาดแมลงศัตรูพืชของมะพร้าวน้ำหอม และการเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนจะขยายการสนันสนุนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการเกษตรอื่นๆ เช่น การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และแนวทางปฏิบัติด้านเกษตรกรรมที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) นอกจากนี้ บริษัทยังกำลังส่งเสริมการดำเนินการโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย โดยการสนับสนุนฟาร์มผักปลอดภัย ให้มีการจำหน่ายผลผลิตให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสาคร
  2. ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งไทยยูเนี่ยนมีความภาคภูมิใจที่ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาเครื่องเบญจรงค์ในจังหวัดสมุทรสาคร ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเยี่ยมเหล่านี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นได้อีก นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ เกลือสปา น้ำว่านหางจระเข้ และผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
  3. ด้านการท่องเที่ยวชุมชน สนันสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร เช่น อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ที่โคกขาม ฟาร์มเกลือทะเลและสปาเท้า รวมถึงการสนับสนุนโฮมสเตย์ที่ดอนไก่ดี ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตเครื่องเบญจรงค์

“โครงการต่างๆ นี้ มีความสำคัญต่อคนในชุมชนของเรา” นางวรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้อำนวยฝ่ายทรัพยากรบุคคลของไทยยูเนี่ยน กล่าว “นับเป็นโอกาสดีสำหรับไทยยูเนี่ยนที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการเพื่อขับเคลื่อนมูลค่าให้เกิดขึ้นในระยะยาวต่อชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่น ทั้งนี้เราจะยังคงดำเนินงานต่อเนื่องในโครงการเหล่านี้ตลอดปี 2561