ไทยยูเนี่ยน และ WWF ประเทศอังกฤษ เผยแพร่ รายงานความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างกัน ประจำปี 2561

14 มิถุนายน 2561, กรุงปารีส – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่รายงานความก้าวหน้าประจำปีของการทำงานร่วมกันในทวีปยุโรป

ตั้งแต่ปี 2557 ไทยยูเนี่ยนและกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมมือกันทำงานในทวีปยุโรปเพื่อส่งมอบข้อตกลงกฎบัตรอาหารทะเล (Seafood Charter) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล ซึ่งการทำงานนี้ได้รับสนับสนุนในระดับโลกผ่านทาง SeaChange® กลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน และพันธกิจการจัดการปลาทูน่าแบบยั่งยืน ไทยยูเนี่ยนได้ให้คำมั่นว่าปลาทูน่าทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าของบริษัท จะมาจากการประมงที่ได้รับรองตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง (Marine Stewardship Council: MSC) หรือมาจากโครงการพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Project: FIPs) ซึ่งเราได้ลงทุน 90 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการดำเนินงานนี้

ส่วนสำคัญของการเข้าไปมีส่วนร่วมนั้น โครงการ FIPs เป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในการทำการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการเรือประมง หน่วยงานประมงของรัฐบาล ผู้ประกอบการแปรรูป และองค์การนอกภาครัฐ องค์กรเหล่านี้ใช้กำลังของภาคเอกชนและแรงผลักดันของตลาดเพื่อปรับปรุงการทำประมงโดยเฉพาะ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐาน MSC

เมื่อปลายปี 2560 ไทยยูเนี่ยนได้เปิดตัวโครงการ FIPs 2 แห่ง ที่เน้นด้านการจับปลาทูน่าพันธุ์ครีบเหลือง (Yellowfin) ปลาทูน่าพันธุ์ตาโต (Bigeye) และปลาทูน่าพันธุ์ท้องแถบ (Skipjack) ด้วยเครื่องมืออวนล้อมในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออก โดยทำงานร่วมกับผู้เข้าร่วมในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งความคืบหน้านี้คือ ประมาณร้อยละ 85 ของปลาทู

น่าที่จำหน่ายโดยแบรนด์ของไทยยูเนี่ยนในยุโรปมาจากโครงการ FIP และด้วยการทำโครงการ FIP เพิ่มเติมในประเทศบราซิลและเซเนกัลในปี 2561 จะทำให้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 95 ของปลาทูน่าที่จำหน่ายโดยแบรนด์ของไทยยูเนี่ยนในยุโรปจะมาจากโครงการ FIPs ที่น่าเชื่อถือและครบถ้วนภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ปริมาณอาหารทะเลของไทยยูเนี่ยนทั้งหมดในสหภาพยุโรปที่ได้จากการประมงที่ได้รับการรับรอง MSC เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 21 ในปี 2558 - 2559

ความสำเร็จของความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านการดำเนินการของโครงการ FIPs โดย WWF ได้เสร็จสิ้นการวิเคราะห์ประจำปีของห่วงโซ่อุปทานของไทยยูเนี่ยนในสหภาพยุโรป และให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพิ่มเติม ในส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์นี้ WWF ยืนยันว่า เรือประมงแบบอวนล้อมที่จัดหาวัตถุดิบให้กับแบรนด์ในยุโรปของไทยยูเนี่ยนได้ขึ้นทะเบียนอยู่ในฐานข้อมูล Pro-Active Vessel ของมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ช่วยให้เจ้าของเรือปลาทูน่าสามารถระบุตนเองได้ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความพยายามและความสำเร็จในทุกด้านของกฎบัตรอาหารทะเล (Seafood Charter) ของ WWF มีส่วนเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน การตรวจสอบย้อนกลับ และถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังมีส่วนในการสนับสนุนการปรับปรุงความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมการอนุรักษ์ที่กว้างขึ้นเป็นส่วนสำคัญของพันธกิจ SeaChange® ของบริษัท  และไทยยูเนี่ยนยังคงให้การสนับสนุนโครงการประมงที่ยั่งยืนในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกของ WWF อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้ WWF ได้เผยแพร่วิดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการนี้ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลในเรื่องของการจับปลาเพื่อการยังชีพได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปัจจุบันกำลังมีการถูกรวบรวมอย่างสม่ำเสมอในพื้นที่โครงการ 113 แห่ง และรวมอยู่ในการงานการประมงแห่งชาติอีกด้วย

ความสำเร็จของการทำงานร่วมกันนี้ ทำให้ได้รับรางวัล ในงาน Global Good Award 2561 ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อไม่นานมานี้ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอให้ไทยยูเนี่ยนและ
 
WWF ได้รับรางวัลเหรียญทองในประเภท “Best Sustainable Supply Chain” ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ความสำคัญของความร่วมมือการทำงานกัน
 
สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

มร. พอล รีแนน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคของไทยยูเนี่ยนยุโรป กล่าวว่า “ผลจากความร่วมมือกันของเรากับ WWF ไทยยูเนี่ยนสังเกตเห็นการพัฒนาการเชิงบวกอย่างมากมายในการดำเนินธุรกิจที่ยุโรปและในห่วงโซ่อุปทานของเรา”

“ภาคอุตสาหกรรม และองค์กรนอกภาครัฐ รวมถึงภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ต้องมาทำงานด้วยกันเพื่อตอบสนองประชากรของโลกที่มีความต้องการโปรตีนด้วยวิธีการที่ได้มาอย่างยั่งยืนและมีการปกป้องท้องทะเลทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ต้องยืนยันได้ว่ามีการจ้างงานอย่างถูกกฎหมายและให้สิทธิ มีความปลอดภัยในการทำงาน และต้องมั่นใจว่าเรือประมงมีการดำเนินการอย่างรับผิดชอบและถูกต้องตามกฎหมาย”

“การทำงานร่วมกันนี้ ปัจจุบันย่างเข้าเป็นปีที่ 4 แล้ว ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของความสำคัญที่สามารถทำได้เมื่อทุกภาคส่วนที่สำคัญมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของท้องทะเลทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าอย่างแท้จริง”

มร. ไมค์ บาร์เร็ตต์ ผู้อำนวยการบริหารด้านวิทยาศาสตร์และการอนุรักษ์ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สหราชอาณาจักร กล่าวว่า “ท้องทะเลทั่วโลกของเราอยู่ภายใต้ความกดดันจากภัยคุกคามมากกว่าแต่ก่อน ซึ่งประกอบด้วย การจับปลามากเกินไป สภาพภูมิอากาศ และมลพิษจากพลาสติก ที่ WWF เราไม่สามารถต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ เหล่านี้ได้เพียงลำพัง เราต้องทำงานกับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลและปริมาณปลาในท้องทะเล เพื่อเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมของพวกเขาจากภายใน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เราพอใจในการทำงานร่วมกับไทยยูเนี่ยนยุโรปที่เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของเราอย่างดีเพื่อปกป้องท้องทะเลของเรา”

“3 ปีของการทำงานร่วมกันมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในการไปสู่ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของปลาทูน่า เราสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเส้นทางการทำงานที่น่าภูมิใจนี้ ซึ่งประกอบด้วย การดำเนินโครงการพัฒนาการประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาการประมงอีกหลายโครงการที่กำลังพัฒนาอีกด้วย”

###

สำหรับผู้สื่อข่าว ติดต่อ
Hudson Sandler
รีเบคก้า  กูด์เจิ้น / อีเลียต ธอร์นตัน
โทรศัพท์ +44 20 7796 4133
อีเมล์: thaiunion@hudsonsandler.com 

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่งส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมากกว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.35 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วยแบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar, และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation – ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่องมาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว

จนส่งผลโดยรวมให้ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2559 ไทยยู

เนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่สามติดต่อกัน  นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี  FTSE4Good Emerging Index อีกด้วย  

เกี่ยวกับ WWF

WWF เป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีผู้ให้การสนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคน และมีเครือข่ายดำเนินการทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ ด้วยการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ เรามุ่งเน้นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของโลก การหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงทีสุดที่โลกของเรากำลังเผชิญ เพื่อความอยู่รอดของผู้คนและธรรมชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ wwf.org.uk