SPACE-F เปิดตัว Global FoodTech Incubator and Accelerator รุ่นที่ 4 มุ่งผลักดันอาเซียนเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารระดับโลก

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เปิดตัว 20 สตาร์ทอัพ ภายใต้โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ SPACE-F นั้น มุ่งเน้นให้สตาร์ทอัพในธุรกิจเทคโนโลยีอาหารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รองรับกับความท้าทายในปัจจุบันและอนาคตที่ต้องเผชิญในอุตสาหกรรม สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ โอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายและแหล่งเงินทุน เพื่อการเติบโตของธุรกิจ

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพทุกทีมที่เข้าร่วมโครงการยังมีโอกาสเข้าใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดร่วมกับ Thai Union Group PCL หนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในปีนี้เรามีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ทั้งสิ้น 20 ราย แบ่งออกเป็น 10 ราย จาก 3 ประเทศ เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubator program) และ 10 ราย จาก 6 ประเทศ เข้าร่วมโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator program)

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ Group Director, Global Innovation บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเปิดตัวโครงการว่า ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุดโลก จนได้รับการขนานนามว่า “ครัวของโลก” แต่หากมองในมุมการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร หรือสตาร์ทอัพที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็จะพบว่าประเทศไทยเมื่อ 5 ปีที่แล้วไม่ได้มีความโดดเด่นทางด้านนี้เลย ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จึงจับมือกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) และมหาวิทยาลัยมหิดล สร้างแพลตฟอร์มที่ดึงดูดสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร ที่น่าสนใจมาบ่มเพาะ และเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพในประเทศไทยผ่าน SPACE-F Global FoodTech Incubator and Accelerator ที่มีการเตรียมการระบบนิเวศ และความเชี่ยวชาญให้เพรียบพร้อม เพื่อผลักดันให้สตาร์ทอัพเติบโตและประสบผลสำเร็จได้เร็ว สร้างอิมแพคให้อุตสาหกรรมได้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มของเราได้มีการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมอย่างเต็มที่ โดยวันนี้เรามีสตาร์ทอัพกว่า 90% ที่ยังคงมีการเติบโตทางธุรกิจ และสร้างคุณค่าต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์และความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารของโลก เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้าง บ่มเพาะ เร่งการเติบโตเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารระดับโลก”

FoodTech startups 10 ราย เข้าร่วม Incubator program

  1. ImpacFat (Singapore): Enhancing nutrition and taste of alternative meats with fish cell-based fat
  2. Marina Biosciences (Singapore): cultivate seafood delicacies to make exquisite foods more exquisite, whilst saving the lives of animals
  3. Mycovation (Singapore): Transforming Mycelium into novel ingredients using fermentation technology
  4. Nutricious (Thailand): Egg White Protein-Rich Beverage
  5. Plant Origin (Thailand): Egg Alternative from Rice Bran Protein
  6. PROBICIENT (Singapore): the world’s first probiotics beer
  7. Rak THAIs by Angkaew Lab (Thailand): Fermented espresso cold brew coffee
  8. The Kawa Project (United States): sustainable alternative to cocoa powder
  9. Trumpkin (Thailand): non-dairy cheese from pumpkin seed
  10. Zima Sensors (Singapore): Package Leak Detection, made seamless

FoodTech startups 10 ราย เข้าร่วม Accelerator program

  1. Genesea (Israel): Seaweed food tech company, producing alternative protein extraction & ingredients from macro-algae
  2. Lypid (United States): Alternative fat solutions
  3. NovoNutrients (United States): The low-cost, globally scalable solution for making alternative protein by capturing carbon
  4. TeOra (Singapore): Building the future of sustainable food for 10 billion humans
  5. AlgaHealth (Israel): We put healthy into food!
  6. Seadling (Malaysia): Seaweed Functional Nutrition
  7. MOA (Spain): healthy food for a sustainable future
  8. Pullulo (Singapore): ACHIEVING A SUSTAINABLE FUTURE WITH MICROBIAL PROTEIN
  9. The Leaf Protein Co. (Australia): Unlocking Earth’s most abundant source of protein
  10. AmbrosiaBio (Israel): Enabling a healthy lifestyle without compromising the product's taste

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ SPACE-F สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.space-f.co

เกี่ยวกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA)

ภารกิจของ NIA คือการสนับสนุนและพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศไทย ทั้งในด้านการปรับปรุง และการริเริ่ม เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและ การเพิ่มขีดความ สามารถในการ แข่งขัน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม ที่จะเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศ โดยการร่วมสร้าง สรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เชื่อมโยงกลุ่มคนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกับองค์กรต่างๆ จากหลาก หลายแขนง เช่น ด้านวิชาการ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม การเงิน และการลงทุน โดยเน้นที่การใช้การจัดการความรู้เพื่อ ให้เกิดนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการ ทํางานในรูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม ซึ่งใช้นวัตกรรม เป็นเครื่องมือหลักในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงขึ้น

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลกที่นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย และสร้างสรรค์ มาสู่ลูกค้าทั่วโลกมาเป็นกว่า 46 ปี

ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีเกินกว่า 155,586 ล้านบาท (4,438 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar, Hawesta และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ®BONE และ UniQ®DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita

ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "การมีสุขภาพที่ดี และท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์, Healthy Living, Healthy Oceans" โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพผู้คน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ท้องทะเล เราภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) พร้อมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) และได้รับเกียรติเป็นเป็นประธาน SeaBOS หรือ Seafood Business for Ocean Stewardship ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานด้านความยั่งยืนโดยยึดหลักกลยุทธ์ SeaChange® ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จากผลการประเมินงานด้านความยั่งยืนปี 2565 บริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 9 ปีติดต่อกันและได้อันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งไทยยูเนี่ยนเคยได้ในปี 2561 และปี 2562 นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ที่ seachangesustainability.org

เกี่ยวกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่มบริษัทไทยเบฟ” ) เป็นบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ คือ การเป็นผู้นำในธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารที่มั่นคงและยั่งยืนของอาเซียน

ไทยเบฟเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปี 2549 และในปี 2555 ได้ขยายธุรกิจผ่านการเข้าซื้อบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (“F&N”) ซึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศสิงคโปร์ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ในปี 2560 ไทยเบฟได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาคด้วยการเข้าซื้อหุ้นในแกรนด์ รอยัล กรุ๊ป (“GRG”) ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในตลาดวิสกี้ของประเทศเมียนมา และหุ้นในบริษัทไซ่ง่อน เบียร์-แอลกอฮอล์-เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น (“ซาเบโก้”) ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ส่งผลให้ไทยเบฟก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดในด้านปริมาณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปัจจุบัน ธุรกิจของไทยเบฟประกอบด้วย 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร โดยกลุ่มบริษัทไทยเบฟมีโรงงานผลิตสุรา 19 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อีก 20 แห่งในประเทศไทย และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมจุดขายมากกว่า 500,000 จุดทั่วประเทศ กลุ่มบริษัทไทยเบฟจำหน่ายสินค้าครอบคลุมมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีโรงกลั่นสุรา 5 แห่งในสก็อตแลนด์ ซึ่งใช้ในการผลิตสุราซิงเกิ้ลมอลต์ เช่น บัลแบลร์ (Balblair) โอลด์ พุลท์นีย์ (Old Pulteney) และสเปย์เบิร์น (Speyburn) นอกจากนี้ยังมีโรงงาน 2 แห่งในเมียนมา และโรงงานผลิตสุราอีก 1 แห่งในประเทศจีนที่ผลิตสุราอวี้หลิงฉวน (Yulinquan)

กลุ่มผลิตภัณฑ์สุราที่มีชื่อเสียงของไทยเบฟประกอบด้วย รวงข้าว หงส์ทอง เบลนด์ 285 แสงโสม แม่โขง และแกรนด์ รอยัล วิสกี้ นอกจากนี้ เบียร์ช้างซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์หลัก ยังเป็นหนึ่งในเบียร์ของไทยที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่ซาเบโก้มีผลิตภัณฑ์ Bia Saigon และ 333 ซึ่งเป็นเบียร์ที่มียอดขายอันดับต้นๆ ในประเทศเวียดนาม สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ไทยเบฟมีตราสินค้าชั้นนำ ได้แก่ ชาเขียวโออิชิ เครื่องดื่มอัดลมเอส โคล่า นํ้าดื่มคริสตัล เครื่องดื่มอัดลม F&N และเครื่องดื่มเกลือแร่ 100PLUS นอกจากนี้ ไทยเบฟยังดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น รวมทั้งอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน ผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และได้ขยายธุรกิจอาหารผ่านบริษัทย่อย คือ ฟู้ด ออฟ เอเชีย และธุรกิจแฟรนไชส์เคเอฟซี ซึ่งเป็นร้านอาหารบริการด่วนที่ได้รับความนิยมที่สุดในประเทศไทย

ไทยเบฟเป็นหนึ่งในสิบบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในหุ้นที่ใช้อ้างอิงในดัชนีสเตรทส์ไทม์ (“STI”) นอกจากนี้ ไทยเบฟเป็นสมาชิกของกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (“DJSI”) โดยเป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของโลก รวมถึงเป็นสมาชิกในดัชนี DJSI World และดัชนี DJSI Emerging Markets

เกี่ยวกับดีลอยท์

ดีลอยท์ให้บริการด้านการสอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการ ที่ปรึกษาความเสี่ยง ที่ปรึกษาทางการเงินที่ปรึกษาด้าน ภาษีและกฎหมาย ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆด้วยเครือข่ายบริษัทสมาชิกที่เชื่อมโยง กันมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ดีลอยท์ผสานความสามารถและบริการที่มีคุณภาพระดับโลกรวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจ ที่ซับซ้อนให้กับลูกค้า

ดีลอยท์ ประเทศไทย มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีจำนวนพนักงานประมาณ 1,500 คน และพาร์ทเนอร์มากกว่า 50 คน

ดีลอยท์ประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี 1939 เป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีบริษัทแรกในประเทศ ด้วยประสบการณ์ในเชิงลึกและมีทรัพยากรที่มีคุณภาพ ดีลอยท์ประเทศไทยได้ให้บริการในประเทศไทยในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคส่วนมาแล้วมากกว่า 80 ปี การ ร่วมทำงานเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์จากการผนวกความเชี่ยวชาญและทักษะจากประเทศสมาชิก

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลมีต้นกำเนิดมาจากการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชในปี พ.ศ. 2431 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และโรงเรียนแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราชก็เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยสถาบันแห่งนี้ยัง เปิดสอนหลักสูตรในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมไปถึงหลักสูตรระดับปริญญาเอกส่วนใหญ่ในประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความเป็นเลิศดั้งเดิมในด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์เอาไว้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอิสระ การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมหาวิทยาลัย และสร้างมาตรฐานการปฏิบัติกับมหาวิทยาลัย ระดับโลกอื่น ๆ เป้าหมายสูงสุดคือการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยอาศัยการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับสถาบัน ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมากมาย

เกี่ยวกับ RISE

RISE คือสถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคที่มีพันธกิจหลักในการผลักดันให้เกิดการเพิ่ม 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเร่งสปีดนวัตกรรมผ่านโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับจากกว่า 500 องค์กรทั่วทวีปเอเชีย ซึ่งบริการของเราครอบคลุมตั้งแต่ระดับการออกแบบกลยุทธ์ไปจนถึงการปฏิบัติที่สร้างนวัตกรรมได้จริง รวมถึงการเป็น Advisory Board ที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ ไปจนถึงติดตามผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมขององค์กร