ไทยยูเนี่ยน ร่วมสนับสนุนกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลไทย

บรรยายใต้ภาพ: ภาพชาวประมงบนเรือประมงทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเรือที่ไทยยูเนี่ยนและมาร์ส เพ็ทแคร์ดำเนินการโครงการนำร่องการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบด้วยระบบดิจิทัล (เครดิตภาพ: ไทยยูเนี่ยน)

11 พฤษภาคม 2561 กรุงเทพฯ – ไทยยูเนี่ยน ร่วมสนับสนุนกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลฉบับใหม่ที่กำหนดให้นายจ้างที่ทำการประมงจัดให้มีอุปกรณ์ หรือระบบการสื่อสารรับส่งข้อความผ่านดาวเทียม สำหรับลูกจ้างแรงงานประมง ระหว่างที่ออกทะเลนอกน่านน้ำไทย

ตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ระบุว่านายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์หรือระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่รองรับการรับส่งข้อความได้ไม่ต่ำกว่า 1 เมกะไบต์ ต่อคนต่อเดือน เพื่อให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของลูกจ้างทั้งหมดบนเรือสามารถเข้าถึงและใช้ในการติดต่อประสานงานได้ โดยให้นายจ้าง เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมด ซึ่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกัปตัน และลูกเรือ ให้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายในครอบครัว หรือแจ้งเรื่องราวความเดือดร้อนและร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ ขณะออกเรือ

การปรับปรุงในครั้งนี้ถือเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ต้องการคุ้มครองแรงงานในภาคประมงทะเล ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ รวมถึงพัฒนาการบริหารจัดการแรงงานในงานประมงทะเลของไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งสอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนในการทำงานในท้องทะเล (C188)

โดยกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ได้ออกหลังจากที่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ และ Inmarset ได้ร่วมกับกรมประมงและหน่วยงานต่างๆ  เปิดตัวโครงการนำร่องการตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบดิจิทัลในปี 2560 ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน หรือ SeaChange®

การติดตั้งระบบสื่อสาร “Fleet One” ของ Inmarsat บนเรือประมงในประเทศไทยประสบความสำเร็จ โดยลูกเรือ กัปตัน และเจ้าของเรือ ได้เข้ารับการอบรมการใช้แอปพลิเคชันการสื่อสาร “Fish Talk” ซึ่งพัฒนาโดย Xsense ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารกับครอบครัว และเพื่อนได้ทั่วโลกในขณะอยู่ในทะเลได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมประมงของไทยที่ใช้ระบบสื่อสารดังกล่าว

โครงการนำร่องจะทดสอบการเข้าถึงรูปแบบสำหรับการบันทึกข้อมูลการจับปลาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Catch Data and Traceability: CDT) โดยการใช้แอปพลิเคชันอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ซึ่งจะแสดงข้อมูลการติดตามด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตลอดเส้นทาง รวมทั้งการบริหารจัดการในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย

ระบบนี้ทำให้ซัพพลายเออร์มีความสามารถในการ

  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของบันทึกการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบภายใต้การดูแลของผู้จัดการการประมง รวมทั้งสามารถบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
  • การแสดงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเส้นทาง และการจัดการในห่วงโซ่อุปทาน โดยสามารถเชื่อมโยงไปยังตลาดต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เพื่อจัดการข้อกังวลในเรื่องการทำประมงแบบ IUU และประเด็นเรื่องแรงงานในการทำประมง
  • แรงงานประมงสามารถติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนของพวกเขาที่อยู่ภาคพื้นดิน หรือแจ้งเรื่องร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ ขณะออกเรือได้

ดร.แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “อุตสาหกรรมอาหารทะเลต้องเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อนำความโปร่งใสอย่างเต็มรูปแบบและระบบตรวจสอบแบบดิจิทัลมาใช้ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยโครงการนำร่องและกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลฉบับใหม่นี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการเดินไปอย่างถูกทิศทาง”

“สำหรับในระยะยาว การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบจะช่วยทำให้อุตสาหกรรมประมงทั้งหมดมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการดูแลแรงงานได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญแก่ผู้บริโภคทั่วโลก” ดร. แดเรี่ยน กล่าวเสริม

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัล สามารถดูได้ ที่นี่

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน สามารถดูได้ที่ http://seachangesustainability.org

###

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่งส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมากว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.35 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม และมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu ,King Oscar, และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation – ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัว กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่องมาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว จนส่งผลโดยรวมให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2559 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่สามติดต่อกัน นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เมื่อเร็ว ๆ นี้อีกด้วย http://seachangesustainability.org.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

คุณวิสาขา จันทกิจ
มือถือ: +66.81.845.7316
อีเมล: Wisaka.Chantakit@thaiunion.com