ไทยยูเนี่ยน จับมือโครงการอาหารโลก เปิดตัวการศึกษาผลของ โครงการอาหารโรงเรียนในประเทศเคนย่า

บรรยายใต้ภาพ: เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเปิดตัวการศึกษาผลของโครงการอาหารโรงเรียนแห่งชาติที่มีต่อเศรษฐกิจในประเทศเคนย่า โดยโครงการอาหารโลก ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากไทยยูเนี่ยน (เครดิตภาพ: WFP/Rein Skullerud)

5 กันยายน 2560 กรุงเทพฯ - โครงการอาหารโลก ขององค์การสหประชาชาติ หรือ World Food Programme (WFP) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัวการศึกษาเพื่อศึกษาผลของโครงการอาหารโรงเรียนแห่งชาติ ที่มีต่อเศรษฐกิจในประเทศเคนย่า  

ในปี 2552 รัฐบาลเคนย่าได้เริ่มโครงการอาหารโรงเรียนที่ใช้ผักปลูกเองจากครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ หนึ่งล้านคน ในขณะที่เด็กอีกราว 600,000 คนได้รับอาหารผ่านโครงการอาหารโรงเรียนของ WFP โดย WFP จะค่อยๆ ถ่ายโอนจำนวนนักเรียนภายใต้การสนับสนุนของตนให้เข้าสู่โครงการอาหารโรงเรียนที่ใช้ผักปลูกเองจากครัวเรือนของรัฐบาล ซึ่งมีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2561

ภายใต้โครงการอาหารโรงเรียนที่ใช้ผักปลูกเองจากครัวเรือน โรงเรียนต่างๆ ซื้ออาหารจากตลาดในท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยตรงไปยังเกษตรกรและพ่อค้า รวมทั้งผู้ให้บริการด้านอื่นๆ อาทิเช่น ผู้รับจ้างขนส่ง และซัพพลายเออร์ในกระบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตร  

ในปี 2559 WFP ได้นำอาหารสดเข้าเป็นเมนูอาหารโรงเรียนในเมืองไนโรบิ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับครอบครัวที่มีความเกี่ยวข้องในการผลิตและขายผลผลิตการเกษตรโดยตรงจากฟาร์ม 

โรงเรียนและสถาบันต่างๆ ที่ซื้อผลิตผลจากเกษตรกรท้องถิ่น มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเงินสดและสร้างโอกาสในการจ้างงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งวิธีการการประเมินผลทางเศรษฐกิจแบบวงกว้างในระดับท้องถิ่น (Local Economy-Wide Impact Evaluation: LEWIE) จะถูกดำเนินการโดยคณะเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ที่จะรวบรวมข้อมูลและแสดงให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจของโครงการอาหารโรงเรียนที่ใช้ผักปลูกเองจากครัวเรือน  

การทำการศึกษานี้จะร่วมกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็นว่า หากประเทศเคนย่ามีโครงการอาหารแห่งชาติที่จัดหาอาหารกลางวันประจำวันให้กับนักเรียนทั้งหมด 8.9 ล้านคน จะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจของท้องถิ่น และเศรษฐกิจของประเทศ การใช้ข้อมูลที่ได้จากโรงเรียน พ่อค้า ภาคธุรกิจ เกษตรกร และครัวเรือน ย่อมเป็นไปได้ที่จะสามารถประมาณการณ์การกระจาย

รายได้ที่เกิดจากทุกๆ ดอลลาร์ที่ได้ลงทุนไปในโครงการอาหารโรงเรียนแห่งชาติ ตามข้อมูลการจัดซื้อผลิตผลอาหารจากท้องถิ่น  

บทเรียนที่ได้จากโครงการนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับปรุงโภชนาการของนักเรียนอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันภายใต้โครงการนี้ก็สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่โอกาสในการปรับใช้โครงการแนวทางเดียวกันนี้ในระดับสากลทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา

การให้การสนับสนุนโครงการอาหารโรงเรียนที่ใช้ผักปลูกเอง จากครัวเรือนของ WFP ในประเทศเคนย่า สอดคล้องกับ SeaChange® หรือกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน นอกจากนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ กำลังดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติโดยผ่านกลยุทธ์ SeaChange® ซึ่งประกอบไปด้วยเป้าหมายด้านการขจัดความหิวโหย และโอกาสการจ้างงานและเติบโตทางเศรษฐกิจ

“การร่วมมือกับหน่วยงานในภาคเอกชนมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายด้านขจัดความหิวโหย” นางแอนนาลิซ่า คอนเต้ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคและผู้แทนของโครงการอาหารโลก กล่าว “WFP ขอบคุณในการสนับสนุนของไทยยูเนี่ยนที่มีต่อโครงการนี้ ซึ่งจะเผยถึงผลการศึกษาโครงการอาหารโรงเรียนทั่วประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับเกษตรกรในท้องถิ่นและภาคธุรกิจว่า จะสามารถช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศเคนย่า เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันและเปิดเผยผลการศึกษาของโครงการเพื่อเดินไปข้างหน้าร่วมกัน

“โครงการที่ช่วยปรับปรุงโภชนาการของเด็กนักเรียน ในขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่ควรให้การสนับสนุน" ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนกล่าว “ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับสังคมในวงกว้าง ในขอบเขตที่เราสามารถช่วยเหลือได้โดยตรง และบริษัทมีความภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับ WFP ในโครงการนี้”

การศึกษานี้อยู่ในระหว่างดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ในช่วงเดือนกรกฎาคมปีนี้ไปจนถึงเดือนธันวาคม ปี 2562 โดยผลจากการศึกษาจะนำไปต่อยอดให้กับรัฐบาลเคนย่าตามแผนจัดหาอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนทั้งหมด  

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กรุณาไปที่ http://seachangesustainability.org.

###

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 125 พันล้านบาท (3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 46,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่องมาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว จนส่งผลโดยรวมให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2559 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่สามติดต่อกัน  นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี  FTSE4Good Emerging Index เมื่อเร็วๆ นี้อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ

นายคริสโตเฟอร์ ฮิวจ์
โทรศัพท์มือถือ: +66.625.941.089
อีเมล: Christopher.Hughes@ThaiUnion.com