ไทยยูเนี่ยน ผู้นำในการรับพนักงานโดยไม่มีค่าธรรมเนียมบริการจัดหางาน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสำหรับการขจัดประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน และการละเมิดด้านสิทธิแรงงาน โดยได้รับการยอมรับจากกลุ่มสิทธิแรงงานข้ามชาติ

29 เมษายน 2559 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู ผู้ผลิตและแปรรูปปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลชั้นนำของโลก ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมในการจัดหาแรงงานและค่าธรรมเนียมที่นอกเหนือจากที่ ทางราชการกำหนดสำหรับแรงงานทุกคนในทุกโรงงานของบริษัททั้งชาวไทยและชาวต่าง ชาติ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ปัจจุบันแรงงานของไทยยูเนี่ยน มีทั้งแรงงานสัญชาติไทย เมียนมาร์ และกัมพูชา ซึ่งมีทั้งที่สมัครเข้ามาทำงานด้วยตนเองกับที่ผ่านบริษัทนายหน้าที่ขึ้น ทะเบียนอย่างถูกต้องในประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์

ประกาศดังกล่าวของไทยยูเนี่ยน เป็นผลมาจากการพัฒนานโยบายการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจรรยาบรรณอย่างต่อ เนื่อง จนได้รับการยอมรับจากเอ็นจีโอเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (Migrant Workers Rights Network หรือ MWRN) ซึ่งเข้าไปดำเนินการตรวจสอบสภาพแรงงานในโรงงานทุกแห่งของเครือไทยยูเนี่ยน และให้คำมั่นเรื่องการจัดหาแรงงานเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ก่อนเรื่องอื่นใด

ที่ผ่านมาไทยยูเนี่ยน มุ่งเน้นที่การป้องกันการเอาเปรียบแรงงานโดยตัวแทนนายหน้า และตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทจัดหาแรงงานในประเทศ กัมพูชาและประเทศเมียนมาร์ ทั้งนี้

ไทยยูเนี่ยน ได้ดำเนินการตรวจสอบขั้นตอนการจัดหาแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมี MWRN เป็นที่ปรึกษาและควบคุมดูแล ส่งผลให้ช่วยลดต้นทุนและความยุ่งยากในการจัดหาแรงงาน

ดร. แดเรียน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นโยบายการจัดหาแรงงานอย่างมีจรรยาบรรณของไทยยูเนี่ยน นี้ประกาศใช้กับบริษัทจัดหางานทั้งหมดในด้านกระบวนการจัดหาแรงงานข้ามชาติใน ประเทศไทย โดยระบุว่าแรงงานจะไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าธรรมเนียมในการ จัดหาแรงงานและค่าธรรมเนียมที่นอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด และจะบังคับใช้นโยบายเดียวกันกับการจัดหาว่าจ้างแรงงานต่างชาติของบริษัทใน เครือในปี 2559”

ดร. แดเรียน แมคเบน ยังกล่าวอีกว่า “หนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพัฒนากิจการอย่างยั่งยืนคือการให้พนักงานมีสภาพการ ทำงานที่ปลอดภัยและปราศจากการบังคับ ดังนั้นเราจึงไม่ยอมให้แรงงานของเราต้องมีหนี้สินจากการหางานทำ”

“การริเริ่มนี้ สืบเนื่องมาจากบริษัทมีความมุ่งมั่นพัฒนาปรับปรุงสภาพการทำงานของพนักงาน เราเป็นผู้นำในการบังคับใช้นโยบายที่เข้มงวดนี้ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย และพิสูจน์ให้เห็นว่าการใช้นโยบายนี้ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และที่สำคัญคือต้องมีพันธมิตรองค์กรอิสระอย่าง MWRN ที่มาช่วยตรวจสอบดูแลสภาพการทำงานในสถานประกอบการของเราในฐานะพนักงานคน หนึ่ง”

“เรายังมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้หมดไปจากสถานประกอบการของเราอีกด้วย”

มร. แอนดี้ ฮอลล์ ที่ปรึกษากิจการระหว่างประเทศของ MWRN กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยน มีการดำเนินการที่รวดเร็วและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีที่จะปรับปรุงเรื่อง ต่างๆ โดย MWRN ได้เข้าตรวจสอบระบบแรงงานในทุกโรงงานของไทยยูเนี่ยน ทั้งโรงงานไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม (TUM) โรงงานไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TUF) โรงงานไทยยูเนี่ยน ซีฟู้ด (TUS) และ โรงงานสงขลา แคนนิ่ง (SCC) โดยเปิดเผยข้อมูล รายละเอียดในทุกขั้นตอนของการเข้าตรวจสอบ อีกทั้งยังให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการแสดงข้อมูลเอกสารภายใน ข้อมูลการตรวจสอบภายใน และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานของแรงงาน

มร. แอนดี้ ฮอลล์ กล่าวว่า “ไม่เพียงแต่ทีมหัวหน้าแรงงานข้ามชาติของ MWRN จะมีโอกาสตรวจสอบสภาพการทำงานที่ดีของแรงงานไทยยูเนี่ยน อีกทั้งยังได้รับความร่วมมืออย่างดีและมีความตั้งใจจริงที่จะปรับปรุงใน เรื่องสวัสดิการของแรงงาน”

“MWRN หยิบยกประเด็นเรื่องความโปร่งใสและค่าใช้จ่ายในกระบวนการจัดหาแรงงานจากต่าง ประเทศ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ไทยยูเนี่ยนตกลงจะดำเนินการตามมาตรฐานสากลในการ บริหารจัดการธุรกิจด้วยการออกนโยบายงดค่าจัดหาแรงงานโดยสิ้นเชิง เรายังคงทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารของไทยยูเนี่ยน ในประเด็นอื่นๆ ที่เราพบในการตรวจสอบของเรา รวมทั้งการพัฒนาการสื่อสารสัมพันธ์กับแรงงานภายในสถานประกอบการ’

ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยน ได้ร่วมงานกับ MWRN มาตั้งแต่พ.ศ. 2556 เพื่อดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะสภาพการทำงานในโรงงานส่งออก และตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นมา ไทยยูเนี่ยนและ MWRN ได้ร่วมมือกันอย่างเป็นทางการในโครงการความร่วมมือเพื่อขจัดความกังวลเรื่อง สภาพการทำงานในโรงงานของบริษัท

นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยน ยังได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสถาบันอิสรา ซึ่งเป็นเอ็นจีโออิสระที่ดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงาน บังคับในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกด้วยวิธีการประยุกต์ใช้ข้อมูล เทคโนโลยี และ นวัตกรรมต่างๆ โดยมีสำนักงานในอยู่ภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบัน สถาบันอิสรา และไทยยูเนี่ยน ได้ร่วมกันใช้เทคโนโลยี เช่น การตั้งศูนย์ฮอตไลน์ และแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือสำหรับแรงงานข้ามชาติเพื่อชี้เป้าความเสี่ยง ด้านแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน และ รับฟังปัญหาจากแรงงานนับพันคนเพื่อให้เข้าใจถึงสภาพการทำงานของพวกเขาและ พิจารณาหาวิธีปรับปรุง

ดร. ลิซ่า เรนด์ เทย์เลอร์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิสรา ได้กล่าวเสริมว่า "ไทยยูเนี่ยนและสถาบันอิสรา ได้ร่วมกันริเริ่มระบบการตรวจสอบสภาพแรงงานเชิงรุกทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน และด้วยวิธีนี้พวกเขาจึงได้มอบอำนาจแก่แรงงาน เป็นการให้สิทธิให้เสียงแก่แรงงานเพื่อให้เราได้เข้าใจว่าจะสามารถปรับปรุง ระบบการจัดหางานและการบริหารแรงงานได้อย่างไร การที่ไทยยูเนี่ยน มุ่งมั่นต่อการงดค่าจัดหาแรงงานโดยสิ้นเชิงนี้ นับเรื่องที่น่าตื่นเต้นเพราะค่าธรรมเนียนมในการจัดหาแรงงานและค่าธรรมเนียม ที่นอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด เป็นปัจจัยเสี่ยงตัวหลักตัวหนึ่งที่ทำให้แรงงานติดกับดักหนี้และเป็นปัญหา ที่พบได้อย่างกว้างขวางจากระบบการตรวจสอบสภาพแรงงานของสถาบันอิสรา ดังนั้นเราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาตินับ หมื่นจะได้รับการเปลี่ยนแปลงไปในทางทีดีขึ้น และเราหวังว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนี้จะหันมาให้ความสำคัญต่อสิทธิแรงงานอย่างเป็นรูปธรรมเช่นกัน”