ไทยยูเนี่ยน และ มาร์ส เพ็ทแคร์ จับมือกันใช้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัล และการบันทึกการทำประมงระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขจัดปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

บรรยายภาพ: ไทยยูเนี่ยน และ มาร์ส เพ็ทแคร์ ดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ในเรือประมงที่มีการติดตั้งระบบสื่อสาร “Fleet One” และการบันทึกการทำประมงระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเป็นการเชื่อมโยงที่สำคัญต่อระบบการตรวจสอบเอกสาร (เครดิตภาพ: ไทยยูเนี่ยน)

12 กันยายน 2561, กรุงเทพ — บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ ร่วมกันเผยแพร่วิดีโอสั้น เพื่อแนะนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัล และการใช้การบันทึกการทำประมงระบบอิเล็กทรอนิกส์ในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับความร่วมมือจากทั้งสองบริษัท เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรมประมงให้มากขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งจากพันธมิตรและหน่วยงานภาครัฐ

วิดีโอชุดนี้ เป็นชุดล่าสุดในทั้งหมดสามชุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบด้วยนวัตกรรมดิจิทัลซึ่งดำเนินการเมื่อปีที่ผ่านมาในประเทศไทย บนเรือประมงที่มีการติดตั้งระบบสื่อสาร “Fleet One” โดยลูกเรือ กัปตัน และเจ้าของเรือได้รับการอบรมการใช้แอปพลิเคชันสนทนา ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนขณะที่ออกทะเล นับเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมประมงของไทยในการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน

ภาพที่ปรากฎในวิดีโอนี้ เป็นภาพล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึง วิธีการบันทึกการทำประมงระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเป็นการเชื่อมโยงที่สำคัญต่อระบบการตรวจสอบเอกสาร และสนับสนุนความพยายามของอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) รวมถึงการติดตามมาตรฐานด้านแรงงานบนเรือประมง และการปกป้องปริมาณสัตว์น้ำสำหรับอนาคต

การบันทึกข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล ณ เวลานั้นของการจับ จะช่วยลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลและเพิ่มความถูกต้องมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีทำงานคู่กับสัญญาณแซทเทิลไลท์ ตลาด คู่ค้า หรือหน่วยงานกำกับดูแลที่อยู่ภาคพื้นดินจะทำให้รับทราบข้อมูลล่าสุดทันทีเกี่ยวกับเวลาจับ สถานที่จับ สายพันธุ์ที่จับ ปริมาณปลาที่จับ และสถานที่ที่ปลาถูกเก็บไว้

“ปัจจุบันในอุตสาหกรรมยังยึดถือการบันทึกข้อมูลการทำประมงของกัปตันในแบบเดิม ซึ่งบันทึกข้อมูลด้วยมือ แต่ขณะนี้เรามีเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล เรากำลังแนะนำการบันทึกการทำประมงด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบดิจิทัลนี้ เราสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจในการทำการค้ามากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างสมบูรณ์” ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนไทยยูเนี่ยนกล่าว “การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาวัตถุดิบแบบดิจิทัล และการแก้ปัญหาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จะอธิบายถึงส่วนสำคัญของการทำประมงของไทยยูเนี่ยนสำหรับโครงการเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อขจัดปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน และการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม อีกทั้งยังเป็นการนำมาซึ่งความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่ของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารทะเล”

การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่ของวัตถุดิบคือ ความสามารถในการติดตามรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงผู้บริโภค เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วยการนำมาซึ่งความโปร่งใสตลอดทั้งระบบ

“ข้อมูลแบบทันต่อเหตุการณ์นี้ จะทำให้เราได้ข้อมูลล่าสุดที่สุดเกี่ยวกับจำนวนลูกเรือบนเรือประมง สภาพการทำงาน และชั่วโมงการทำงาน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่เมื่อเทียบกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน” คุณอิซาเบล แอลโวท ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนทั่วโลกของบริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ กล่าว “ความสำเร็จของโครงการนำร่องนี้ มีความหมายสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานของอาหารทะเลอย่างแท้จริงเพราะเป็นครั้งแรกที่มีการติดต่อสื่อสารขณะอยู่ในทะเล”

ดร. แดเรี่ยน เพิ่มเติมว่า โครงการนำร่องนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใสตลอดน่านน้ำไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลในอุตสาหกรรมประมงทั่วโลกอีกด้วย เนื่องจากปัญหาหลายอย่างในประเทศไทยมีความคล้ายกันในอุตสาหกรรมการทำประมงทั่วโลก

การดำเนินการโครงการนำร่องนี้ สอดคล้องกับ SeaChange® หรือกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน โดยวิดีโอทั้งสามชุดนี้ สามารถรับชมได้ในช่องยูทูปของไทยยูเนี่ยน

###

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.35 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว จนส่งผลโดยรวมให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2560 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เมื่อเร็วๆ นี้อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

คุณวิสาขา จันทกิจ
บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป
มือถือ: +66.81.845.7316
อีเมล: Wisaka.Chantakit@thaiunion.com