ไทยยูเนี่ยนให้พันธสัญญาต่อแถลงการณ์ “Tuna 2020 Traceability Declaration” ในงานประชุม World Economic Forum

บรรยายใต้ภาพ: ฝูงปลาทูน่ากำลังว่ายในมหาสมุทร เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยยูเนี่ยนได้พันธสัญญาต่อแถลงการณ์ “Tuna 2020 Traceability Declaration” ในงานประชุม World Economic Forum (WEF) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ © Rich Carey/Shutterstock

ต่อยอดเจตนารมณ์พันธกิจด้านปลาทูน่าของไทยยูเนี่ยน

6 มิถุนายน 2560, นิวยอร์ก ซิตี้ – ไทยยูเนี่ยนร่วมงานประชุมระดับโลก World Economic Forum (WEF) ในเมืองนิวยอร์ก ซิตี้ พร้อมให้พันธสัญญาต่อแถลงการณ์การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของปลาทูน่าปี 2563 (Tuna 2020 Traceability Declaration) โดยพันธสัญญาดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals - SDGs) ที่ผู้นำจาก 193 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศพันธกิจร่วมกันตามมติสหประชาชาติในเดือนกันยายน ปี 2558 ในการประชุมสุดยอดผู้นำยูเอ็นซัมมิท

ที่ไทยยูเนี่ยน เราตระหนักดีว่าปลาทูน่าไม่ได้เป็นเพียงสินค้า แต่เป็นแหล่งโภชนาการที่สำคัญ รวมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างน้อยหนึ่งพันล้านตำแหน่งทั่วโลก" ดร.แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กล่าวในระหว่างร่วมการเสวนากับผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งจัดโดย WEF “ในฐานะที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมรายหนึ่ง นับเป็นความรับผิดชอบของเราในการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการจับปลาทูน่า รวมทั้งขั้นตอนการแปรรูป และการกระจายสู่ตลาด ล้วนดำเนินการด้วยวิธีการที่ยั่งยืน

การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของปลาทูน่าปี 2563 หรือ Tuna 2020 Traceability Declaration ได้รับความเห็นชอบจากผู้นำธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้ผลิตปลาทูน่า นักการตลาด ผู้ประกอบการค้า และผู้ทำธุรกิจประมง อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคสังคมที่มีอิทธิพล และรัฐบาลต่างๆ โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เห็นชอบร่วมกันในพันธกิจนี้ให้คำมั่นในการที่จะมีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมและร่วมมือกันในการแสดงเจตจำนงในการดำเนินการตามที่ได้ประกาศไว้ และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกาศแถลงการณ์การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของปลาทูน่า กรุณาคลิก ที่นี่

ในปีที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศกลยุทธ์ที่มีความท้าทายซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 90 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์แบรนด์ปลาทูน่าทั้งหมดของบริษัทมีการจัดหาวัตถุดิบด้วยวิธีการที่ยั่งยืน โดยบริษัทตั้งเป้าจะทำให้ได้อย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2563 โดยในส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ใหม่ด้านปลาทูน่านี้ ทางไทยยูเนี่ยนกำลังลงทุนริเริ่มในโครงการต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มปริมาณปลาทูน่าอย่างยั่งยืน โดยในที่นี้รวมถึงการตั้งโครงการพัฒนาการประมงใหม่ (Fishery Improvement Projects: FIPs) 11 โครงการทั่วโลก โครงการ FIP เป็นโครงการปฏิรูปการประมง เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีปริมาณปลาในท้องทะเลคงอยู่อย่างยั่งยืน การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และมีการบริหารจัดการการประมงที่ดีขึ้น

ดร. แดเรี่ยน กล่าวเสริม "การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบนี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความยั่งยืน และช่วยแก้ปัญหาความท้าทายที่กระทบต่ออุตสาหกรรมมายาวนาน โดยการ

ตรวจสอบย้อนกลับดังกล่าวจะขจัดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า การประมงของเราในวันนี้จะยังประโยชน์ถึงคนรุ่นใหม่ในอนาคต

ไทยยูเนี่ยน จะรายงานความคืบหน้าของพันธกิจด้านปลาทูน่าจากทั่วโลกของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธกิจดังกล่าวนี้และกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® สามารถติดตามได้ที่ http://seachangesustainability.org