ไทยยูเนี่ยนสนับสนุนเงิน 50,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อโครงการพัฒนาการประมง ในประเทศอินโดนีเซีย

บรรยายใต้ภาพ: ฝูงปลาทูน่ากำลังว่ายน้ำในมหาสมุทร เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยยูเนี่ยนประกาศถึงความมุ่งมั่นที่จะให้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ปลาทูน่าทั้งหมดมาจากการจัดหาจากแหล่งวัตถุดิบด้วยวิธีการที่ยั่งยืน โดยบริษัทมุ่งมั่นจะทำให้ได้อย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563  © Ugo Montaldo/ Shutterstock

14 มีนาคม 2560, กรุงเทพฯ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลก สนับสนุนเงินจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1.75 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Projects: FIPs) ทางตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย

การสนับสนุนเงินในครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน หรือที่เรียกว่า SeaChange® อีกทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายอันมุ่งมั่นของบริษัทที่จะให้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ปลาทูน่าทั้งหมดมาจากการจัดหาจากแหล่งวัตถุดิบด้วยวิธีการที่ยั่งยืน โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นจะทำให้ได้อย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ด้านปลาทูน่า ไทยยูเนี่ยนกำลังลงทุนมูลค่า 90 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการต่างๆ เพื่อจะช่วยเพิ่มปริมาณปลาทูน่าอย่างยั่งยืน ซึ่งร่วมถึงการสนับสนุนโครงการพัฒนาการประมง 11 โครงการใหม่ทั่วโลก โครงการ FIP เป็นโครงการปฏิรูปการประมง เพื่อให้มีปริมาณปลาที่ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประมง

เงินบริจาคนี้จะนำไปใช้ในการสนับสนุนการทำประมงเบ็ดตวัด และกิจกรรมต่างๆ ด้านความยั่งยืนเพื่อดูแลปริมาณปลาทูน่าพันธุ์ท้องแถบ (Skipjack) และพันธุ์ครีบเหลือง (Yellowfin) โดยการสนับสนุนดังกล่าวจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการประมง ชาวประมง ภาครัฐบาล องค์กรไม่แสวงหากำไร และภาคการศึกษา มาทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในท้องทะเลผ่านการดำเนินโครงการการจัดหาแหล่งวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบและด้วยวิธีการที่ยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานปลาทูน่า นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุการรับรองมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง (Marine Stewardship Council: MSC) สำหรับการประมงปลาทูน่าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

สำหรับไทยยูเนี่ยน ปลาทูน่าที่จัดหามาด้วยวิธีการที่ยั่งยืน จะมาจากการประมงซึ่งได้รับรองตามมาตรฐาน MSC  หรือมาจากโครงการ FIP ซึ่งจะพัฒนาการประมงสู่การได้รับการรับรองตามมาตรฐาน MSC นอกจากนี้ ยังต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นแกนหลักสำคัญของกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน 

การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบทำให้ไทยยูเนี่ยนสามารถตอบโจทย์ประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารทะเล นั่นคือการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (illegal, unreported and unregulated : IUU) เพื่อให้มั่นใจว่า มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบการดำเนินงานบนเรือ ในการจัดการกับการจับสัตว์น้ำอื่นที่ติดมา และการขจัดแรงงานผิดกฎหมายหรือการบังคับใช้แรงงาน” ดร.แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าว “นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึงแนวทางการลงทุนของไทยยูเนี่ยนในเรื่องที่บริษัทมีเจตนารมณ์ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าท้องทะเลของเราจะมีความยั่งยืนทั้งในตอนนี้ และสำหรับลูกหลานในอนาคต” ​