ไทยยูเนี่ยน เดินหน้ากลยุทธ์ SeaChange® 2030 สานต่อโครงการรักษ์ทะเล สร้างบ้านปะการัง ภูเก็ต ปีที่ 2 พร้อมจับมือพันธมิตร ลุยฟื้นฟูท้องทะเลอย่างยั่งยืน



ภูเก็ต – 6 ธันวาคม 2567 – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก พร้อมด้วย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมขับเคลื่อนโครงการรักษ์ทะเล ในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ร่วมกันทั้งหมด 109 ชิ้น พร้อมติดตามความคืบหน้าผลงานการติดตั้งบ้านปะการังปีแรกจากนวัตกรรม SCG 3D Printing พบว่ามีตัวอ่อนปะการังและปลาเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สอดคล้องกับแนวทางการดูแลท้องทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อโลก เพื่อเรา ภายใต้กลยุทธ์ SeaChange®2030
ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โลกร้อนได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำให้ความสมดุลทางท้องทะเลลดลงจากการที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเสียหาย จำนวนสัตว์น้ำลดลง มีผลต่อเนื่องถึงความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงศักยภาพของการใช้ประโยชน์จากทะเลลดลงตามไปด้วย ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนคือการเร่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างจริงจัง โดยโครงการรักษ์ทะเล ที่ภาคเอกชนอย่างไทยยูเนี่ยน และ SCG จับมือกันร่วมกับพันธมิตร เพื่อมุ่งสร้างบ้านปะการังนับว่ามีประโยชน์ต่อท้องทะเลไทยมาก เพราะหลังจากที่วางบ้านปะการังที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต ไปในปีแรกทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่าในพื้นที่ที่วางไปเริ่มมีตัวอ่อนปะการังมาเกาะมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และมีปลามาอยู่อาศัยเป็นบ้านแห่งใหม่นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการสร้างความอุดมสมบูรณ์คืนให้ท้องทะเล


นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ รู้สึกยินดีที่ไทยยูเนี่ยนได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรักษ์ทะเล ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และภาคเอกชน ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย ร่วมกันสร้างบ้านปะการัง ในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ปีนี้นับเป็นโอกาสดีที่ไทยยูเนี่ยนได้มีโอกาสลงไปสำรวจความคืบหน้าร่วมกับทางมูลนิธิเอิร์ธอะเจนด้าด้วยตัวเอง โครงการนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ของไทยยูเนี่ยน ที่มีหนึ่งในพันธกิจสำคัญคือการฟื้นฟูระบบนิเวศทั้งทางทะเลและทางบก เพื่อตอบโจทย์เรื่องการดูแลสุขภาพผู้คนและสุขภาพท้องทะเล หรือ Healthy Living, Health Oceans
“การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นวาระเร่งด่วนของทุกคน แทบทุกภูมิภาคของโลกได้เผชิญกับปรากฎการณ์โลกเดือด ไม่ว่าจะเป็น เอลนินโญ ลานินญ่า หรือโอเชี่ยน วอร์มมิ่ง เรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างความตระหนักรู้และลงมือทำเพื่อร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ด้วยความร่วมมือในการปกป้องทรัพยากรทางทะเลอันมีค่าของเราอย่างต่อเนื่อง ผมเชื่อว่าเราจะได้เห็นความสำเร็จของการฟื้นฟูแนวปะการังอย่างเป็นรูปธรรม และเราจะเดินหน้าสนับสนุนและดูแลสิ่งแวดล้อมทางท้องทะเล โดยเฉพาะในประเทศไทยอย่างดีที่สุด วันนี้ไทยยูเนี่ยนยังมีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอีกมากที่ทำต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าโกงกาง การกำจัดขยะทะเล การเก็บขยะชายหาดที่ทำต่อเนื่องทั้งปี เป็นต้น เพื่อคืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเล และอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไป” นายธีรพงศ์ กล่าว
นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมวางบ้านปะการัง ณ เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต ปีนี้ ทาง SCG ได้เริ่มนำนวัตกรรม SCG 3D Printing รุ่นใหม่ ที่เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปด้วยปูนมอร์ตาร์ ที่มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาผลิตเป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง ที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ พัฒนาให้เหมาะกับสายพันธุ์ปะการังและสภาพแวดล้อมในท้องทะเลนั้นๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการลงเกาะและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการัง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง นอกจากความตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานอนุรักษ์แล้ว SCG ยังพร้อมเป็นสื่อกลางให้ภาคเอกชนและประชาชนที่มีความสนใจ เข้าถึงและมีส่วนร่วมในงานฟื้นฟูแนวปะการัง
รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ประธานมูลนิธิ เอิร์ธ อะเจนด้า กล่าวว่า ปะการังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่มีความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งพบในมหาสมุทรมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันกำลังเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์ การฟื้นฟูแนวปะการังจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล และจากการได้ลงสำรวจพื้นที่วางบ้านปะการังร่วมกับไทยยูเนี่ยน และทช. พบว่า ผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยพบการเติบโตของปะการังอย่างมีนัยสำคัญ และมีสัตว์เกาะติดราว 11 ประเภทรวมทั้งตัวอ่อนปะการังเข้ามาเกาะในบ้านปะการังนับเป็นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องระบบนิเวศ รักษาความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร และความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน


ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยน ได้ให้การสนับสนุนโครงการรักษ์ทะเลผ่านโครงการบ้านปะการัง ณ เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจะวางบ้านปะการังรวมทั้งสิ้น 210 ชิ้น
###
เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลกที่นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย และสร้างสรรค์ มาสู่ลูกค้าทั่วโลกมา 47 ปี
ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีเกินกว่า 136,153 ล้านบาท (3,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน
ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar, Hawesta และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ®BONE และ UniQ®DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita
ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "การมีสุขภาพที่ดีและท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์, Healthy Living, Healthy Oceans" โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพผู้คน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ท้องทะเล เราภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) พร้อมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) และได้รับเกียรติเป็นเป็นประธาน SeaBOS หรือ Seafood Business for Ocean Stewardship
ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 พร้อมขยายขอบเขตการทำงานด้านความยั่งยืนให้ครอบคลุมมิติของผู้คนและสิ่งแวดล้อม ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานด้านความยั่งยืนโดยยึดหลักกลยุทธ์ SeaChange® ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จากผลการประเมินงานด้านความยั่งยืนปี 2565 บริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน และยังได้รับการจัดอันดับในดัชนี Seafood Stewardship Index (SSI) เป็นอันดับหนึ่ง 3 ปีติดต่อกัน และในปี 2566 ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน S&P Global Sustainability Yearbook 2023 ตลอดจนได้รับผลการประเมินดัชนีชี้วัดความยั่งยืนระดับ B จากสถาบันประเมินความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก Carbon Disclosure Project (CDP) สะท้อนความความโปร่งใสและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ในปี 2567 ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้ที่ seachangesustainability.org.