ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป และซีพีเอฟ ร่วมกันออกแถลงการณ์สนับสนุน SeaBOS ในการต่อสู้กับแรงงานทาสยุคใหม่

  • ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุม SeaBOS (Seafood Business for Ocean Stewardship ประจำปี 2562 ที่จังหวัดภูเก็ต
  • การเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และภาคอุตสาหกรรม เพิ่มการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและปกป้องมหาสมุทร
  • สมาชิกของ SeaBOS จะร่วมกันต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงาน

บรรยายภาพ: สมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมประจำปี SeaBOS (Seafood Business for Ocean Stewardship) ที่จังหวัดภูเก็ต ตกลงร่วมกันที่จะทำงานเพื่อเพิ่มการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและสอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ดร. อดิศร พร้อมเทพ (ซ้าย) อธิบดีกรมประมง นายธีรพงศ์ จันศิริ (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยยูเนี่ยน และนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ (ที่ 7 จากขวา) ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ



25 กันยายน 2562 กรุงเทพ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ออกแถลงการณ์ร่วมกันในการต่อสู้กับแรงงานทาสยุคใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของทั้งสองบริษัทปราศจากแรงงานที่ผิดกฎหมาย

ในการประชุมประจำปีของ SeaBOS ที่จังหวัดภูเก็ต ทั้งสองบริษัทแสดงความคิดเห็นร่วมกันว่า “แรงงานทาสยุคใหม่ เป็นความท้าทายระดับโลก ซี่งมีความพยายามร่วมมือเพื่อขจัดให้หมดไป ในการทำงานระหว่างปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง”

“เรามีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญในทุกเรื่องเช่น การออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การสร้างศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสีย การประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และอื่นๆ เราพร้อมจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับประชาคมโลก และร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ เพื่อให้แรงงานทาสยุคใหม่กลายเป็นปัญหาในอดีต”

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู กล่าวว่า “ที่ไทยยูเนี่ยน เรามุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่เรามีวิธีในการดำเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการปรับปรุงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และเรายังมีการดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าของเราโดยหน่วยงานจากภายนอก แต่เราทราบดีว่า เราไม่สามารถต่อสู้ปัญหากับปัญหานี้ได้เพียงลำพัง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราต้องใช้วิธีการความร่วมมือกันและทำงานกับผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลายในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง”

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า “การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่บริษัทให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอนการจ้างแรงงานและการจัดสวัสดิการ ทั้งยังให้การสนับสนุนศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Centre : FLEC) ซึ่งมีการจัดอบรมและกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานประมง ตลอดจนการยึดปฏิบัติตามนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนของบริษัท โดยกำหนดเป้าหมาย 100% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกของบริษัทที่นำมาใช้จะต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) นำมาใช้ใหม่ (Recyclable) นำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ได้ (Upcyclable) หรือ สามารย่อยสลายได้ (Compostable) ภายในปี 2568”

ดร. อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวในที่ประชุม SeaBOS เกี่ยวกับ การที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองกับประเทศไทยจากการทำประมงที่ไม่ยั่งยืนจึงเป็นผลให้เกิดการพัฒนาด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมภายในประเทศ ดร. อดิศร กล่าวอีกว่า ใบเหลืองได้ถูกยกเลิกเมื่อต้นปี 2562 แต่อย่างไรก็ดี ใบเหลืองได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการซึ่งปัจจุบันมีการบังคับใช้อยู่ เพื่อลดการทำประมง IUU และการบังคับใช้แรงงานในประเทศไทย

SeaBOS เป็นองค์กรที่นำนักวิทยาศาสตร์จาก Stockholm Resilience Centre ของมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ราชบัณฑิตสภาทางวิทยาศาสตร์ (Royal Academy of Sciences) ของประเทศสวีเดน และบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลก 10 บริษัท SeaBOS มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีต่อการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร

การประชุมปีนี้ของ SeaBOS มีไทยยูเนี่ยน และซีพีเอฟ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่องานว่า Global Connectivity – Consolidating and Accelerating Change ผู้ร่วมประชุมตกลงที่จะสนับสนุนการเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์และภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่มากขึ้น นอกจากนี้ ทุกคนยังตกลงที่จะเพิ่มความร่วมมือการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และการบังคับใช้แรงงาน การปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับของอาหารทะเล และการทำงานเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนการจัดการการทำประมง

สมาชิกของ SeaBOS ทุกคนได้มีการตั้งคณะทำงานชุดใหม่ด้านการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจัดการผลกระทบสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอุตสาหกรรมอาหารทะเล พร้อมกับการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพจากการรับประทานอาหารทะเลมากขึ้น ซึ่งขณะเดียวกันยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตอาหาร


###

 

เกี่ยวกับไทยยูเนี่ยน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.33 แสนล้านบาท (4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 47,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด ทำให้ในปี 2562 ไทยยูเนี่ยนได้เป็นผู้นำอันดับ 1 ลุ่มอุตสาหกรรมของโลกใน Food Industry ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ และประสบความสำเร็จในการได้รับคะแนนเปอร์เซ็นไทล์สูงสุดที่ 100 ในคะแนนด้านความยั่งยืนทั้งหมด ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index ในปี 2561 อีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไทยยูเนี่ยน โปรดติดต่อ

 

วิริยาภรณ์ โปษยานนท์  (แป๋ม)

อีเมล์ wiryaporn.posayanonda@thaiunion.com 

โทร +66.81.922.5135

 

จิรวัส มนตรีวงค์  (ดิว)

อีเมล์ Jirawat.montreevong@thaiunion.com

โทร +66.80.976.4613

 

เกี่ยวกับ CPF


บริษัทเจริญ​โภคภัณฑ์​อาหาร​ จำ​กัด ​(มหาชน) ​หรือ​ซีพีเอฟ​ ดำเนินธุรกิจ​เกษตร​อุตสาหกรรม​และอาหารครบวงจร​ ภายใต้​วิสัยทัศน์​ "ครัวของโลก" เพื่อผลิต​อาหาร​คุณ​ภาพ​สูง​ ถูกหลักโภชนาการ​ รสชาติ​ดี​ ปลอดภัย​และตรวจ​สอบ​ย้อนกลับ​ได้

ซีพี​เอฟ​ มีการลงทุนใน​ 16​ ประเทศ​และส่งออกไปมากกว่า 30​ ประเทศ​ ใน ​5 ทวีป​ โดยมียอดขายในปี ​​2561​ มูลค่า​ 541,937 ล้าน​บาท

ซีพีเอฟ​ขับเคลื่อน​ธุรกิจ​ด้วย​หลักการความ​รับผิดชอบ​ต่อสังคม​สู่ความยั่งยืน​ภายใต้​กลยุทธ์​ 3 เสาหลัก​ คือ​ อาหารมั่นคง​  สังคม​พึ่ง​ตน​ และดิน​น้ำป่าคงอยู่​ ตามข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ​  (UN Global Compact) และเป้าหมายการพัฒนา​ที่ยั่งยืน​ (United Nations Sustainability Development Goals -SDGs)

การดำเนินนโยบายสู่ความ​ยั่งยืน​อย่างต่อเนื่อง​ทำให้​ซีพีเอฟได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก​ DJSI ในกลุ่มผลิตภัณฑ์​อาหารติดต่อ​กัน​เป็นปีที่ 5 ในปี 2562 และเป็นสมาชิก​ FTSE4GOOD​ ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ ​2​ และยังได้รับรางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืน​ปี 2561 จากตลาด​หลักทรัพย์​แห่ง​ประเทศไทย

รายละเอียด​เพิ่มเติม​  https://www.cpfworldwide.com/th/sustainability

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีพีเอฟ โปรดติดต่อ

 

พรรณินี นันทพานิช

อีเมล์ punninee@cpf.co.th

โทร. +66.2.766.8344-5