ไทยยูเนี่ยนผนึกกำลังภาคเอกชนสานต่อนโยบาย "ประชารัฐ" ลงนามความร่วมมือกับภาครัฐและกลุ่มสหกรณ์ เพิ่มขีดความสามารถและคุณภาพการผลิตให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ

บรรยายใต้ภาพ -ภาครัฐ เอกชน และตัวแทนสหกรณ์กลุ่มสัตว์น้ำ ถ่ายภาพร่วมกัน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐในภาค สหกรณ์ เพื่อสนับสนุนนโยบาย "ประชารัฐ"

(แถวล่าง เรียงจากขวาไปซ้าย) - ตัวแทนสหกรณ์ (ที่ 1 จากขวา) ผศ.มานพ กาญจนาบุรางกูร ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา (ที่ 2 จากขวา) นายธีรพงศ์ จันศิริ (ที่ 3 จากขวา) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และประธานคณะทำงานกลุ่มสัตว์น้ำ ภายใต้คณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ที่ 3 จากซ้าย) คุณพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย (ที่ 2 จากซ้าย) และ นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

(แถวบน) - ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมอาหารแช่แข็งแห่งประเทศไทย ( ที่ 4 จากซ้าย) นายสิทธิชัย ฤทธิธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร (ที่ 5 จากซ้าย) และตัวแทนจากสหกรณ์

29 เมษายน 2559, กรุงเทพฯ- ภาคเอกชนสานต่อนโยบายประชารัฐ ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการ พัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ของกลุ่มสัตว์น้ำ กับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ และกลุ่มสหกรณ์ต่างๆ ทั้งนี้ภาคเอกชนจะให้การสนับสนุนถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ ให้กับเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ เพื่อต่อยอดสินค้าเกษตรสำหรับการเพิ่มมูลค่า รวมถึงการหาช่องทางการตลาด และช่องทางจำหน่ายแก่สหกรณ์

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และประธานคณะทำงานกลุ่มสัตว์น้ำ ภายใต้คณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ กล่าวว่า "การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการขับเคลื่อนอย่างเป็น รูปธรรมของการดำเนินการตามนโยบายประชารัฐ ที่มุ่งลงไปยังเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยมีภาคธุรกิจเป็นกลไกกลางในการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนด้วย กัน ทั้งนี้ในฐานะภาคเอกชนที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทำงานของ กลุ่มสัตว์น้ำ ก็มุ่งหวังที่จะเห็นการทำงานอย่างรวดเร็วและจริงจังของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและปลา สามารถสร้างผลผลิตที่สูงขึ้น มีคุณภาพ และมีกำไรที่เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยง

โครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็นสองระยะ ในระยะแรกคือ การเริ่มต้นถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงและส่งเสริมการตลาดให้กับ เกษตรกร ซึ่งจะสามารถสรุปผลการดำเนินงานทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ส่วนแผนงานระยะยาว คือ จัดตั้งศูนย์พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และประการสำคัญช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมอาหารของประเทศให้มี ศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกได้ ในขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างประสานความร่วมมือกับกรมประมง ในเรื่องของการจัดตั้ง การจัดหาสถานที่ และการจัดหาทุนในการดำเนินการต่อไป"

ทั้งนี้ในส่วนของภาคเอกชน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ จะสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเรื่องความรู้และเทคโนโลยีในการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงข้อมูลทางการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย ขณะที่ภาครัฐจะมีหน้าที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อให้เพิ่ม ประสิทธิภาพในการเลี้ยงและการผลิต อีกทั้งยังผลักดันสหกรณ์ที่มีศักยภาพให้เชื่อมโยงกับบริษัทเอกชน ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น ประการสำคัญเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและคุณภาพในการผลิตสัตว์น้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตที่มากขึ้น และเอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรทั่วประเทศ


สำหรับคณะทำงานกลุ่มสัตว์น้ำ ประกอบด้วย ภาครัฐ ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมประมง องค์การ สะพานปลา ชุมนุมสหกรณ์ประมงแห่งประเทศไทย ส่วนภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สภาหอการค้าไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท เวลส์ แอนด์ โก ยูนิเวอร์ส จำกัด

สำหรับรายชื่อสหกรณ์ที่ร่วมลงนามในครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 12 สหกรณ์ ได้แก่ 1. สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจันทบุรี จำกัด จังหวัดจันทบุรี 2. สหกรณ์กุ้งตราด จำกัด จังหวัดตราด 3. สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งตราดยั่งยืน จังหวัดตราด 4. สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช 5. สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งนครปฐม จำกัด จังหวัดนครปฐม 6. สหกรณ์การเกษตรบ้านสร้าง จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี 7. สหกรณ์นิคมบ้านสร้างพัฒนา จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี และ 8. สหกรณ์การเกษตรเมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา 9. สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตรัง จำกัด จังหวัดตรัง 10. สหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน จำกัด จังหวัดจันทบุรี 11. สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี จำกัด จังหวัดชลบุรี และ 12. สหกรณ์ประมงพาน จำกัด จังหวัดเชียงราย ซึ่งการลงลงนามความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและเกิดความมั่นคงต่อไป