ไทยยูเนี่ยนเผยถึงความร่วมมือในโครงการพัฒนาการประมง ปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย

โครงการพัฒนาการประมงปลาทูน่า (Fishery Improvement Project: FIP) ในมหาสมุทรอินเดียได้ถูกขับเคลื่อน ด้วยการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกันระหว่าง 17 องค์กร ซึ่งเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงบริษัท ไทยยูเนี่ยน ยุโรป

โครงการ FIP นี้จะทำงานเพื่อนำไปสู่มาตรฐานการประมงอย่างยั่งยืนที่กำหนดโดย Marine Stewardship Council (MSC) สำหรับมาตรฐานการประมงของ MSC นี้จะแสดงให้เห็นถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศของการจัดการประมงซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวปฏิบัติขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO – แนวปฏิบัติด้านการประมงอย่างรับผิดชอบ)

ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “โครงการ FIP จะมุ่งเน้นหลักสำคัญของการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของปริมาณปลาในท้องทะเล การลดและแก้ไขผลกระทบในระบบนิเวศ และการจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นที่จะสนับสนุนแผนงานการฟื้นฟูปริมาณปลาทูน่าครีบเหลือง (yellowfin) ในภูมิภาค และเราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการปลาทูน่ามหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission) เพื่อพัฒนาการกำกับดูแลการประมงในภูมิภาค

นอกจากบริษัท ไทยยูเนี่ยน ยุโรป แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวยังได้รับการลงนามโดย ATUNSA Inc., Beach Fishing Limited, Compagnie Francaise du Thon Océanique (CFTO), Hartswater Limited, Inspesca Fishing Ltd, Indian Ocean Ship Management Services (IOSMS), Interatun Ltd., Industria Armatoriale Tonniera, Isabella Fishing Ltd, OPAGAC, Orthongel, OPTUC (ANABAC), Princes Limited, SAPMER SA, Thunnus Overseas Group และ Tuna Fishing Company (TFC) รวมถึงองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และรัฐบาลของสาธารณรัฐเซเชลส์ที่ให้การสนับสนุนและเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลของสาธารณรัฐมาดากัสการ์ และสาธารณรัฐมอริเชียสแสดงความสนใจในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาการประมงนี้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าวนี้เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ของไทยยูเนี่ยน ซึ่งอยู่ในส่วนของ SeaChange® กลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนของบริษัทที่ http://seachangesustainability.org/press-releases/partnership-agreement-signed-tuna-fishery-improvement-indian-ocean/