ไทยยูเนี่ยน สนับสนุนคณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินใจปลดใบเหลืองให้แก่ประเทศไทย

บรรยายภาพ: ภาพชาวประมงใช้โทรศัพท์มือถือบนเรือประมงทางตอนใต้ของไทย ซึ่งเป็นบริเวณที่ไทยยูเนี่ยน และมาร์ส เพ็ทแคร์ ร่วมกันดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบด้วยดิจิทัล เพื่อช่วยส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและให้แรงงานมีโอกาสติดต่อสื่อสารเมื่อออกทะเล (ภาพโดย: ไทยยูเนี่ยน)

8 มกราคม 2562, กรุงเทพ - บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีความยินดีที่สหภาพยุโรป (EU) ตัดสินใจยกเลิกใบเหลืองกับประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยได้มีการดำเนินการจัดการเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) มาอย่างต่อเนื่อง ไทยยูเนี่ยนมีความภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมประมงไทย

"ผมขอแสดงความยินดีกับรัฐบาลไทยสำหรับความพยายามอย่างจริงจังที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงประเทศในการต่อสู้กับปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม" นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทยยูเนี่ยน กล่าว "การปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในอุตสาหกรรมประมงมีความสำคัญอย่างมาก ไม่เฉพาะในเรื่องของการตรวจสอบย้อนกลับและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคประมงแล้ว แต่การขจัดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนก็มีความสำคัญเช่นกัน"

การดำเนินการเรื่องใบเหลืองได้สร้างโอกาสให้ประเทศเป็นผู้นำในการปฏิรูปการประมงในภูมิภาค และรัฐบาลไทยควรได้รับการยกย่องสำหรับการดำเนินงานอย่างจริงจังในเรื่องนี้ ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กล่าว

ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทยต้องมีบัญชีธนาคารและจ่ายค่าแรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิก ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนและการปกป้องแรงงานด้วยความโปร่งใสและความเป็นธรรม

"เราทราบดีว่า การจ่ายค่าแรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกดังกล่าวนั้นมีประสิทธิภาพ เพราะไทยยูเนี่ยนได้ดำเนินการเรื่องนี้กับแรงงานทั่วโลกของเรามาหลายปีแล้ว รวมถึงแรงงานทั้งหมดของเราในประเทศไทย" ดร. แดเรี่ยน กล่าว "ดิฉันสามารถแชร์จากประสบการณ์ของเราในเรื่องการจ่ายค่าแรงด้วยระบบดิจิทัลนี้ ซึ่งไม่เพียงจะส่งเสริมทางด้านการเงินแล้ว แต่ยังช่วยให้ผู้หญิงสามารถดูแลการเงินของครอบครัว และจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยส่วนบุคคลของพวกเขาเองและยังเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจด้วย"

นอกจากนี้ กรมประมงของไทย ยังได้สนับสนุน โครงการนำร่องการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งไทยยูเนี่ยนได้มีการดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 สำหรับโครงการนำร่องดังกล่าวได้ใช้การเชื่อมต่อผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและสัญญาณดาวเทียมบนเรือประมง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านสิทธิมนุษชนสำหรับแรงงานบนเรือประมง รวมถึงความโปร่งใสของข้อมูลการจับปลา

เมื่อปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้กฎหมายใหม่ที่บังคับให้เจ้าของเรือประมงไทยที่ทำประมงนอกน่านน้ำสากลต้องจัดให้มีระบบดาวเทียมสื่อสารและอุปกรณ์บนเรือสำหรับแรงงานที่ทำงานในท้องทะเล นี่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในท้องทะเล

"การมีส่วนร่วมของประเทศไทยในกระบวนการบาหลีก็ควรได้รับการยกย่องเช่นกัน" ดร. แดเรี่ยน กล่าว "การทำงานในเรื่องนี้ถือเป็นเวทีของรัฐบาลในการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนถึงวิธีการต่อสู้ที่ดีที่สุด ทั้งในเรื่องการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงาน"

เมื่อมองไปข้างหน้า ไทยยูเนี่ยนคาดหวังว่า การพัฒนาดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมการค้าอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรป

ไทยยูเนี่ยน เป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงในยุโรปมากมาย ซึ่งประกอบด้วย John West, Petit Navire, Parmentier, Hawesta, Lysell และ Mareblu อีกทั้งไทยยูเนี่ยนยังเป็นเจ้าของแบรนด์ King Oscar ในประเทศนอร์เวย์ และเป็นผู้ถือหุ้นหลักของ Rügen Fisch AG ในประเทศเยอรมัน ในยุโรป หลายบริษัทของไทยยูเนี่ยนมีการจ้างคนในส่วนของโรงงานผลิตทั้งในประเทศฝรั่งเศส นอร์เวย์ โปแลนด์ และโปรตุเกส รวมถึงหน่วยธุรกิจค้าปลีกในประเทศฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

###

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 135 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืน ของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด จนส่งผลให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2561 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่ห้าติดต่อกัน โดยได้รับเลือกเป็นบริษัทอันดับ 1 ของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index และได้รับอีกหลากหลายรางวัลสำหรับการเป็นผู้นำในการทำงานด้านความยั่งยืน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

คุณวิริยาภรณ์ โปษยานนท์
Head of External Communications – Corporate Communications Department
มือถือ: +66.96. 653.5542, +66.63.231.0385, +66.81.922.5135
อีเมล: Wiriyaporn.Posayanonda@thaiunion.com

คุณวิสาขา จันทกิจ
CSR communications – Corporate Communications Department
มือถือ: +66.81.845.7316
อีเมล: Wisaka.Chantakit@thaiunion.com