ไทยยูเนี่ยนประกาศสนับสนุนแนวทางของกระบวนการบาหลีเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่และการค้ามนุษย์


บรรยายภาพ: ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนไทยยูเนี่ยน กล่าวแถลงการณ์ที่งานประชุม Bali Process Government and Business Forum ประจำปี ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6-7 สิงหาคม 2561 ที่เกาะบาหลี (เครดิตภาพ: กระบวนการบาหลี)

 
7 สิงหาคม 2561, กรุงเทพฯ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในการประชุมประจำ Bali Process Government and Business Forum ประจำปี ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการบาหลีเกี่ยวกับการลักลอบขนคนเข้าเมือง การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง (Bali Process on People Smuggling, Trafficking in Persons and Related Transnational Crime) โดยมีประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียเป็นประธานร่วมกัน เมื่อวันที่ 6-7 สิงหาคม 2561 ที่บาหลี

 

 

การประชุมนี้เป็นรูปแบบสำคัญที่ผู้นำจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภูมิภาคอินโด-เอเชียแปซิฟิกได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการขจัดปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานทาสยุคใหม่ และการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่ร้ายแรงที่สุดจากแต่ละหน่วยงาน

 

การประชุมในปีนี้ได้มีการจัดทำแนวทาง Bali Process Acknowledge, Act and Advance (AAA) Recommendations ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ 8.7 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และขจัดอาชญากรรมข้ามชาติที่กำลังเป็นเรื่องน่าวิตกกับประชาชนในภูมิภาคอินโด-เอเชียแปซิฟิก

 

ประเด็นสำคัญของแถลงการณ์ในที่ประชุมของ ดร.แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนไทยยูเนี่ยน ที่กล่าวสนับสนุนแนวทาง AAA Recommendations

 

ดร. แดเรี่ยน กล่าวว่า ไทยยูเนี่ยนสนับสนุนแนวทาง Pillar Two of the AAA Recommendations ที่เรียกร้องให้รัฐบาลเข้มแข็งในการนำนโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติและการบังคับใช้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวปฎิบัติในการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม และปรับปรุงเรื่องความโปร่งใสตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และการจัดให้มีกลไกเพื่อชดเชยสำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ

 

บริษัทได้ดำเนินการตามนโยบายด้านจริยธรรมและแนวปฏิบัติด้านการดำเนินธุรกิจ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก รวมทั้งร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดกับภาคธุรกิจต่างๆ พันธมิตรทางธุรกิจ และรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามกลยุทยธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน SeaChange® 

 

ในการประชุม มีการตั้งข้อสังเกตว่า หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่ต้องเผชิญในธุรกิจในภูมิภาคนี้ คือ แรงงานขัดหนี้ ร้อยละ 66 ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแรงงานทาสในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมดถูกบังคับใช้แรงงาน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบังคับให้ใช้แรงงานเป็นแรงงานขัดหนี้ "ไทยยูเนี่ยนได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการจัดหาแรงงานในทุกโรงงานของเรา ซึ่งมีผลต่อการจัดหา  แรงงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในอนาคต" ดร. แดเรี่ยนกล่าว "มันเป็นหน้าที่ของเราทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาล และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบาหลีเพื่อนำไปสู่การต่อสู้นี้ เราทำเช่นนี้โดยอาศัยความตั้งใจทางการเมืองที่แท้จริง การทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์และการตัดสินใจอย่างแน่วแน่เพื่อยุติแรงงานทาสยุคใหม่ "

 

อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มของดร. แดเรี่ยน แมคเบน สามารถอ่านได้ที่นี่