ไทยยูเนี่ยนเสร็จสิ้นการตรวจสอบเรือประมงโดยหน่วยงานตรวจสอบภายนอก

บรรยายภาพ: เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยยูเนี่ยนเสร็จสิ้นการตรวจสอบเรือประมงพาณิชย์ของไทยบางลำที่จัดหาวัตถุดิบให้กับธุรกิจของบริษัท โดยร่วมมือกับบริษัทตรวจสอบจากภายนอกเป็นครั้งแรก จากการสนับสนุนของกลุ่มลูกค้า ภาพนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเอกสารของเรือประมงไทยซึ่งเป็นภาพในคลังรูปภาพของไทยยูเนี่ยนปี 2559 (เครดิตภาพ: ไทยยูเนี่ยน)

28 มิถุนายน 2561, กรุงเทพฯ – เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เสร็จสิ้นการตรวจสอบบนเรือประมงพาณิชย์ของไทยบางลำที่จัดหาวัตถุดิบให้กับธุรกิจของบริษัท จากการสนับสนุนของกลุ่มลูกค้า ซึ่งเราได้ร่วมมือกับบริษัทตรวจสอบจากภายนอกเป็นครั้งแรกที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยและเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลของ UL

การตรวจสอบจากบริษัทตรวจสอบภายนอกเป็นไปตาม SeaChange® ซึ่งเป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาที่มีความหมายต่อทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลก

ซึ่งมีเรือจำนวน 240 ลำที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง และช่วยระบุถึงความเป็นไปได้ของการละเมิดสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของกองเรือของไทยโดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการตามเป้าหมาย ตามที่ มร. พอล อิงลิช ประธานกรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงไทยยูเนี่ยน ได้กล่าวไว้

"นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของอุตสาหกรรมที่สามารถมารวมตัวกัน และนำไปสู่การต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวิธีการแบบที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาการดำเนินงานด้านแรงงานอย่างมีจริยธรรมในภาคประมง” มร. พอล กล่าว

จากผลการตรวจสอบ ไทยยูเนี่ยนได้เรียนรู้ว่าเรือหลายลำมักต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมและการสนับสนุนในประเด็นต่างๆ เช่น สัญญาจ้างงานและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นสำคัญด้านล่าง ผลการตรวจสอบจะถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงโครงการพัฒนาเรือเพื่อยกระดับมาตรฐานของคู่ค้าให้กับไทยยูเนี่ยน

ประเด็นสำคัญ

  • ขาดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน เช่น การครอบคลุมเรื่องแรงงานเด็ก การบังคับใช้แรงงาน ค่าธรรมเนียมในการจัดหางาน การค้ามนุษย์ หรือการเยียวยา
  • เรือประมงหลายลำไม่มอบสำเนาสัญญาว่าจ้างการทำงานให้กับลูกเรือ และแรงงานไม่เข้าใจเนื้อหาในสัญญาว่าจ้าง
  • การยึดเอกสาร (พาสสปอร์ต และสมุดประจำลูกเรือ) โดยเจ้าของเรือ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติปกติสำหรับการออกเรือ
  • เรือประมงส่วนใหญ่จ่ายค่าแรงให้กับแรงงานเป็นเงินสด แทนที่จะฝากเข้าบัญชีโดยตรง*
  • เรือประมงหลายลำมีการจับปลาติดต่อกันเกินกว่า 20 วันในหนึ่งเดือน ซึ่งปกติต้องจัดให้มีวันพักผ่อนสำหรับแรงงาน 7 วัน 
  • อุปกรณ์ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่อยู่บนเรือประมงมีมาตรฐานต่ำ

*หมายเหตุ ตั้งแต่มีการตรวจสอบบนเรือ รัฐบาลไทยได้มีการออกกฎหมายให้แรงงานประมงต้องได้รับค่าจ้างแรงงานเป็นรายเดือนผ่านช่องทางธนาคาร

การติดตามการอบรมสำหรับการแก้ไขปัญหาหลักที่เกิดขึ้น ได้มีการวางแผนไว้ในช่วงปลายปี 2561 โครงการอบรมนี้ จะมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมประมงของไทยและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ดี

นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือระหว่างกันกับพันธมิตรด้านแรงงาน เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ITF)

ไทยยูเนี่ยน และคู่ค้าเชื่อว่า การมีส่วนร่วมและการสร้างศักยภาพแสดงถึงโอกาสที่ดีที่จะปรับปรุงมาตรฐานการทำงานของลูกเรือประมงในภาคอาหารทะเลของไทย

ทั้งนี้เมื่อช่วงต้นปี ไทยยูเนี่ยนได้เปิดตัวโครงการพัฒนาเรือประมง (VIP) และแนวปฏิบัติด้านแรงงานบนเรือประมง (VCoC) เพื่อให้แนวทางที่ชัดเจนกับเรือประมงเกี่ยวกับแหล่งที่มาของการจัดหาวัตถุดิบ การขอสิทธิ์ร้องขอการตรวจสอบการปฏิบัติของคู่ค้าตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานบนเรือประมง เช่น การตรวจสอบผ่านหน่วยงานภายนอกที่คล้ายคลึงกับโครงการนี้ ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการทำธุรกิจร่วมกัน นอกจากนี้จะมีโครงการตรวจสอบประจำปีซึ่งเป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานบนเรือประมงซึ่งดำเนินการโดยไทยยูเนี่ยน

คู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจกับไทยยูเนี่ยน และคู่ค้าใหม่ จะถูกร้องขอให้ลงนามรับทราบแนวปฏิบัติด้านแรงงานบนเรือประมง เพื่อดำเนินธุรกิจกับบริษัท ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า มีเรือประมงทุกลำที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม

“การตรวจสอบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานกับบรรทัดฐานการวัดผลได้ หากปราศจากการลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไทยยูเนี่ยนได้ทุ่มเททรัพยากรที่สำคัญสำหรับการตรวจสอบเพื่อให้เข้าใจปัญหา ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการบริหารจัดการความเสี่ยงของเรา” ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนไทยยูเนี่ยน กล่าว “นอกจากนี้ การศึกษาและการสร้างศักยภาพร่วมกับพันธมิตรของเราเป็นเรื่องจำเป็นต่อความพยายามของเรา เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานในอุตสาหกรรมประมงมีการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย ทำงานอย่างปลอดภัย และมีสิทธิ รวมถึงเรือประมงมีการดำเนินการอย่างถูกกฎหมายและมีความรับผิดชอบ”

###

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่งส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมากกว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.35 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วยแบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation – ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่องมาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว

จนส่งผลโดยรวมให้ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2559 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่สามติดต่อกัน  นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี  FTSE4Good Emerging Index อีกด้วย  

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณวิสาขา จันทกิจ
มือถือ: +66.81.845.7316
อีเมล: Wisaka.Chantakit@thaiunion.com