ไทยยูเนี่ยนจับมือองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก The Nature Conservancy ประกาศเจตนารมณ์ความโปร่งใสที่พลิกโฉมหน้าการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

ไทยยูเนี่ยน บริษัทผู้ผลิตแบรนด์ระดับโลกอย่าง ชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี และ จอห์น เวสต์ ประกาศความโปร่งใสร้อยเปอร์เซ็นต์ของซัพพลายเชนในจัดหาปลาทูน่าทั่วโลกภายในปี 2568

3 มีนาคม 2564, อาร์ลิงตัน เวอร์จิเนีย – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะหนึ่งในบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ร่วมมือกับองค์กรอนุรักษณ์ธรรมชาติระดับโลก The Nature Conservancy ประกาศเจตนารมณ์ในการทำงานด้านความโปร่งใสของซัพพลายเชนในการจัดหาปลาทูน่าทั่วโลก เพื่อดูแลระบบนิเวศน์ทางทะเล เชื่อว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถผลักดันอุตสาหกรรมให้ยั่งยืนขึ้นได้ โดยเน้นประเด็นการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม

บรรยายภาพ: กล้องในระบบตรวจสอบดิจิตัลที่ใช้ในเรือประมง

ไทยยูเนี่ยน ในฐานผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงขององค์กร The Nature Conservancy เพื่อติดตั้งระบบตรวจสอบซัพพลายเชนการจัดหาปลาทูน่าภายในปี 2568 ซึ่งรวมถึงการเริ่มใช้ระบบดิจิตัลในการตรวจสอบเรือประมงของคู่ค้าในซัพพลายเชน การติดตั้งกล้องวิดีโอ จีพีเอส และระบบเซนเซอร์ เพื่อติดตามผู้คนและกิจกรรมต่างๆ บนเรือได้โดยอัตโนมัติ

เจนนิเฟอร์ มอร์ริส ประธานกรรมการ องค์กร The Nature Conservancy กล่าวว่า “ทางเรารู้สึกตื่นเต้นเพราะความร่วมมือครั้งนี้มีศักยภาพที่จะพลิกโฉมการทำงานด้านความยั่งยืนทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ผู้บริโภคและผู้ค้าปลีกเลือกซื้อสินค้าที่มีความยั่งยืน นับเป็นการส่งสัญญาณให้กับผู้ผลิต และทาง The Nature Conservancy หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประกาศเจตนารมณ์ในครั้งจะช่วยเร่งการใช้ระบบดิจิตัลในการตรวจสอบความโปร่งใสในการประมงทั่วโลก”

การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ส่งผลลบต่างๆ ตั้งแต่การจับปลาที่มากเกินไป ในขณะที่จำนวนปลาทูน่าลดน้อยลง รวมถึงสัตว์ทะเลต่างๆ ที่เสี่ยงในการถูกจับติดตาข่ายขึ้นมาด้วย เช่น ปลาฉลามและเต่าทะเล หากไม่มีการตรวจสอบจะนำไปสู่การสูญเสียรายได้รับหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ระดับชุมชนชาวประมงไปจนถึงระดับรัฐบาล

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญกับการทำงานด้านความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด เราเริ่มต้นจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของเราที่เรียกว่า SeaChange® ต่อยอดไปสู่การร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น The Nature Conservancy เราตระหนักดีว่าความเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ แต่เราต้องผสานความร่วมมือในการกำหนดทิศทางในอนาคต ความเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากเพียงคำพูดสวยหรูเท่านั้น ผู้นำองค์กรต่างๆ จะต้องลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ผมเชื่อว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างไทยยูเนี่ยนและ The Nature Conservancy จะสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้ ด้วยการตรวจสอบผ่านระบบดิจิตัลที่เพิ่มมากขึ้นและความโปร่งใสที่จะเกิดขึ้นทั้งอุตสาหกรรม”

ปัจจุบันคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง (Western Central. Pacific Fisheries Commission) ยังคงระงับสังเกตุการณ์เรือประมงที่จับด้วยเครื่องมืออวนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การตรวจสอบบนเรือประมงมีไม่เพียงพอ การประกาศเจตนารมณ์และความร่วมมือในครั้งนี้ถึงมีนัยยะสำคัญ ในระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกนั้น การประมงยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง (มีงานวิจัยที่เผยว่าสถานการณ์โควิด-19 นั้นทำให้การประมงลดลงเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น) แต่ความต้องการในการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องนั้นเพิ่มขึ้นทั่วโลก ข้อมูลโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติยังชี้ให้เห็นว่า ราคาขายส่งปลาทูน่านั้นเพิ่มขึ้น 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และบริษัทอาหารต่างๆ ทั่วโลกยังรายงานยอดขายที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในปี 2563

มาร์ค ซิมริง ผู้อำนวยการโครงการการประมงขนาดใหญ่ องค์กร The Nature Conservancy กล่าวว่า “การตรวจสอบด้วยระบบดิจิตัลจะทำให้เกิดความโปร่งใส ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนั่นได้รับการจัดหาด้วยวิธีที่ยั่งยืนถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม การตรวจสอบที่ได้มาตรฐานจะนำมาซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่มีความสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน การที่เราไม่มีข้อมูลเหล่านี้ ทำให้บังคับใช้กฎหมายในภาคประมงเป็นไปได้ยาก การร่วมมือกับบริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมจะช่วยอุดช่องโหว่ดังกล่าวนี้ได้ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างไทยยูเนี่ยนและ The Nature Conservancy มีโอกาสที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในระดับโลกได้”

ความร่วมมือในครั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนและ The Nature Conservancy จะทำงานกับรัฐบาล หน่วยงานผู้กำกับดูแล และซัพพลายเชน เพื่อที่จะผลักดันให้เกิดการตรวจสอบทางทะเลของซัพพลายเชนการจัดหาปลาสแปรต แมคเคอเรล เฮอร์ริ่ง และไวทิ่ง ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ภายในปี 2568 นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนจะใช้ระบบตรวจสอบเรือประมงที่ใช้เครื่องมืออวนในซัพพลายเชนที่อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการทำลายสิ่งแวดล้อมภายในปี 2568 ซึ่งเครื่องมือที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นอุปกรณ์ลอยน้ำล่อปลาทะเล ซึ่งอาจจะทำให้สัตว์ต่างๆ ติดอวนมาด้วย เช่นเต่าทะเล ซึ่งมีผลกระทบต่อประการัง

# # #

The Nature Conservancy

องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นองค์กรอนุรักษ์ชั้นนำที่ทำงานทั่วโลกเพื่อปกป้องดินแดนและน่านน้ำที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาสำหรับธรรมชาติและผู้คน วิธีการของ Conservancy มีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์และได้รับแรงผลักดันจากแนวทางการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์ที่เร่งด่วนที่สุดในระดับที่ใหญ่ที่สุด เรายังจัดการกับปัญหาสภาพอาหาร อนุรักษ์ดิน น้ำ และมหาสมุทร รวมไปถึงการจัดหาอาหารและน้ำอย่างยั่งยืน และช่วยให้เมืองต่างๆ ยั่งยืนมากขึ้น องค์กรเราทำงานใน 72 ประเทศทั่วโลก โดยความร่วมมือกับชุมชน รัฐบาลและภาคเอกชน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.nature.org ติดตามเราได้ที่ @nature_press บนทวิตเตอร์

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลากว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก โดยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 126,275 ล้านบาท (4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 44,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด จนส่งผลให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2562 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่หกติดต่อกัน โดยได้รับเลือกเป็นบริษัทอันดับ 1 ของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน และได้รับอีกหลากหลายรางวัลสำหรับการเป็นผู้นำในการทำงานด้านความยั่งยืน