สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราให้ความสำคัญกับการพัฒนารากฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย (EHS) ในกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกหน่วยงานขององค์กรได้ดำเนินงานสอดคล้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EHS (Thai Union EHS Protocols) ขององค์กรเป็นอย่างน้อย ซึ่งข้อกำหนดนี้ได้มีการผนวกหลักการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยไว้ในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้เกิดสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บและการเสียชีวิต
ในปี 2561 เรายังคงเดินหน้าสู่ “การสร้างสถานประกอบการที่ได้รับความไว้วางใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย” ซึ่งเรายังคงรักษาอัตราการเจ็บป่วยจากการทำงานของพนักงานไว้ที่ศูนย์ และลดความถี่การเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน (LTIFR) ได้ร้อยละ 36 ซึ่งลดลงมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราความรุนแรงของอุบัติเหตุขั้นหยุดงานของพนักงาน (LTISR) ต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งนี้เราไม่มีอุบัติเหตุที่ส่งผลให้มีพนักงานและผู้รับเหมาเสียชีวิตในปี 2561
ความถี่การเกิดอุบัติเหตุขั้นหยุดงานของพนักงาน (ต่อ 200,000 ชั่วโมง)

นอกจากนี้ เราได้ริเริ่มโครงการที่สำคัญในปี 2561 คือ “โครงการศึกษาแบบจำลองผลกระทบการรั่วไหลจากก๊าซแอมโมเนียต่อธุรกิจและชุมชน” โดยเริ่มดำเนินโครงการที่โรงงานไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จังหวัดสมุทรสาคร ผลกระทบการรั่วไหลก๊าซแอมโมเนียจากแบบจำลองนี้ ถูกนำไปใช้ในการวางแผนและหาแนวทางในป้องกันอันตรายจากก๊าซแอมโมเนียมีที่ต่อโรงงานและชุมชนข้างเคียง รูปแบบตัวอย่างของแบบจำลองดังรูปด้านล่าง

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการปกป้องสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายระดับโลกซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ มหาสมุทรยังมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ว่าจะเรื่องอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น หรือปรากฏการณ์ทะเลกรด ด้วยเหตุนี้จึงนับเป็นความรับผิดชอบของบริษัทในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ไทยยูเนี่ยนมีพันธกิจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการลดความเสี่ยงจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในองค์กรของเราเอง โดยได้มีการตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายในปี 2563 และ 2568 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล การติดตามตรวจสอบ และแผนการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมายปี 2563
- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 30 ต่อตันผลิตภัณฑ์
- ลดปริมาณของเสียสำหรับการฝังกลบลง ร้อยละ 20 ต่อตันผลิตภัณฑ์
- ลดการใช้น้ำลง ร้อยละ 20 ต่อตันผลิตภัณฑ์
เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย (EHS) ปี 2568
- ลดอุบัติเหตุขั้นหยุดงานเป็นศูนย์ (มากกว่าร้อยละ 80 แห่งของจำนวนโรงงานทั้งหมด)
- ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ลงร้อยละ 50
- ลดการใช้น้ำลงร้อยละ 50
- ลดปริมาณของเสียสำหรับการฝังกลบเป็นศูนย์
- ลดการระบายน้ำเสียเป็นศูนย์ (มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนโรงงานทั้งหมด)

ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและก๊าซเรือนกระจกปี 2561 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2559
ในปี 2561 เราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 5.90 หรือเท่ากับ 62,300 กิโลกรัมต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และลดการใช้น้ำและประมาณขยะฝังกลบได้ร้อยละ 1.4 และร้อยละ 44.50 ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยองค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากโครงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้มากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ


โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน (SUN SEEKER PROJECT)
ในปี 2561 เราดำเนินการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการติดตั้งที่บริษัทไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม (TUM) และบริษัทสงขลาแคนนิ่ง (SCC) ซึ่งโดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 0.6 เมกะวัตต์ และ 1 เมกะวัตต์ ตามลำดับ โครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งสองโครงการนี้ สามารถผลิตไฟฟ้าให้เราได้ราว 2,000,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ราว 1,100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เราคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงานได้อย่างน้อย 20 เมกะวัตต์ภายในสิ้นปี 2562
Songkhla Canning

Thai Union Manufacturing
