โครงสร้างองค์กรของศูนย์นวัตกรรม

เราบรรลุความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ลูกค้า และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรม

การขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมของไทยยูเนี่ยน มาจากการแสวงหาแนวความคิดใหม่ๆ การตั้งสมมติฐานและโจทย์ที่ท้าทายและการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยตั้งอยู่บนรากฐานของสี่เสาหลัก

1. วิทยาศาสตร์และการวิจัย

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไปสู่อนาคต ส่งผลให้ส่วนของวิทยาศาสตร์และการวิจัยเป็นตัวกำหนดเทคโนโลยี กระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่โดยมีการทดสอบแนวคิด สร้างองค์ความรู้ และเปลี่ยนสิ่งที่ทดลองสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การศึกษาของเราแบ่งเป็นหกรูปแบบ:

  • A. การศึกษาพื้นฐาน (FUNDAMENTAL STUDIES)

    มีความเข้าใจวัตถุดิบอาหารทะเล และวิธีการเก็บรักษาคุณภาพของวัตุดิบให้คงเหมือนดั่งเดิมให้มากที่สุด เราต้องรู้ว่าแหล่งน่านน้ำปลาทูน่ามีผลทำให้เกิดคุณลักษณะเฉพาะตัวหรือไม่ และเทคนิคภายหลังการเก็บเกี่ยวมีผลต่ออายุการเก็บและคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างไร
  • B. สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (HEALTH & WELLNESS)

    สามารถแจกแจงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารทะเลและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อทำให้สารอาหารจากปลาและอาหารทะเลอื่นๆ เช่น โปรตีนและไขมัน มีประสิทธิภาพในการเสริมสุขภาพมากขึ้น เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค สารอาหารเหล่านี้จะถูกใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารทางทะเล สินค้าที่เพิ่มมูลค่า และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง
  • C. เทคโนโลยีการแปรรูป (PROCESSING TECHNOLOGY)

    การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่ เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพ คุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความสะดวกในการพกพาและการใช้ผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้เกิดคุณค่าเพิ่มและความพึงพอใจของผู้บริโภค
  • D. ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า (CO-PRODUCTS)

    การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าจากวัตถุดิบได้อย่างเต็มที่ โดยการนำวัตถุดิบส่วนที่ไม่ได้ไช้ เป็นผลพลอยได้ที่มาจากการผลิตซึ่งมีคุณภาพสารอาหารสูง มาต่อยอดในการสร้างธุรกิจสารอาหร ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มธุรกิจ Marine Ingredients เช่น การนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือ อาหารฟังค์ชันนอล
  • E. การวิจัยด้านความนิยมของผู้บริโภค (SENSORY RESEARCH)

    การวิเคราะห์วิจัยพิจารณาแนวโน้มผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคทั่วโลกเป็นข้อมูลสำคัญในการตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ในพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวัดค่ารสชาติ กลิ่นรส และความพึงพอใจทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราสะท้อนถึงรสนิยมการบริโภคของคนในท้องถิ่นนั้น และผลิตภัณฑ์มีรสสัมผัสที่เป็นที่ยอมรับโดยผู้บริโภค เช่น กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัส
  • F. ผลิตภัณฑ์จากกุ้ง (SHRIMP)

    การวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจับกุ้งและกระบวนการผลิต เป้าหมายของเรา คือ การทำให้ผลผลิตมีมูลค่าที่สูงขึ้น รวมถึงการได้มาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและสุขภาพของผู้บริโภค
2. การพัฒนาและเทคโนโลยี

โครงสร้างองค์กรของศูนย์นวัตกรรมทางด้านการพัฒนาและเทคโนโลยี เป็นส่วนสำคัญเพื่อประสิทธิภาพของกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับออกสู่ตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหม่ ไปจนถึงการผลิตในโรงงานสู่ตลาด การพัฒนาและเทคโนโลยีนี้เป็นขั้นตอนต่อจากโครงสร้างด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย เพื่อให้มั่นใจว่าแนวคิดไหม่หรือนวัตกรรมมีความเป็นไปได้ก่อนที่จะดำเนินงานต่อ และการปรับรายละเอียดเพื่อรักษาคุณภาพและคุณค่าตามที่คาดหวังไว้ระหว่างการดำเนินการเชิงพาณิชย์

3. การสนับสนุนด้านนวัตกรรม

เป็นส่วนที่ช่วยอำนวยความสะดวกและแนะนำการดำเนินงานของศูนย์วิจัยนวัตกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย

  • โรงงานต้นแบบซึ่งใช้สำหรับทดสอบนวัตกรรม โดยมีขนาดเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของการผลิต
  • ทีมรับผิดชอบด้านความนิยมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายทั่วโลก ได้มีการคำนึงถึงเรื่องความชอบของผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่น เช่น กลิ่น รูปลักษณ์ และรสชาติ
  • ทีมกำกับดูแลกฏระเบียบทั่วโลก เพื่อทำให้มั่นใจว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับสากล
  • กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อคัดกรองความคิด เลือกการลงทุนที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด รวมทั้งลดความเสี่ยงและเพิ่มศักยภาพ
  • ทีมบริหารจัดการองค์ความรู้ เพื่อเก็บบันทึกการทดลอง และจดสิทธิบัตรเพื่อป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา
4. การพาณิชย์

ทำหน้าที่หาข้อมูลทางด้านการวิเคราะห์ธุรกิจในระดับโลก การตลาด และการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนงานด้านการพาณิชย์นี้ ถือเป็นตัวเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างศูนย์นวัตกรรมและแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในระดับภูมิภาค โดยทีมงานของเราจะทำมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราตั้งแต่จากห้องปฏิบัติการจนมาสู่ท้องตลาดได้มีการผสมผสานรสนิยมของคนในท้องถิ่นลงไป เวลาเหมาะสม มีประสิทธิภาพด้านการดูแลต้นทุนและประสบความสำเร็จโดยรวม

"ด้วยประสบการณ์ที่มากกว่า 30 ปี ในการช่วยขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การอาหาร ทั้งที่มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาและสถาบันระดับชาติอีกหลายแห่ง ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลกไปพร้อมกับไทยยูเนี่ยน พวกเรามุ่งมั่นที่จะแปลงงานวิจัยของพวกเราเป็นผลประโยชน์ที่จับต้องได้แก่ลูกค้า ผู้บริโภค ผู้ถือหุ้น และสังคมโลก"

ดร.ภาวิณี ชินะโชติ, Research Platform Leader

ศูนย์วิจัยนวัตกรรม ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป