ไทยยูเนี่ยนร่วมผนึกกำลังแก้ปัญหาพลาสติกในท้องทะเล

บรรยายใต้ภาพ: เต่าหัวค้อน ติดอวนที่ถูกทิ้งไว้ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ภาพโดย Jordi Chias/naturepl.com

12 มีนาคม 2561 บอสตัน — บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผนึกกำลังร่วมโครงการ Global Ghost Gear Initiative (GGGI) เพื่อลดปัญหาการทิ้งอุปกรณ์จับปลาในท้องทะเล (ALDFG) ทั่วโลก 

โครงการ GGGI เป็นโครงการความร่วมมือที่ริเริ่มโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกในปี 2558 เพื่อแก้ปัญหาการทิ้งอุปกรณ์จับปลาที่เกิดขึ้นในระดับโลก จุดแข็งของ GGGI คือการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากหลายฝ่ายเช่น อุตสาหกรรมประมง ภาคเอกชน นักวิชาการ ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรนอกภาครัฐ โดยผู้มีส่วนร่วมทุกหน่วยงานมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการทิ้งอุปกรณ์จับปลาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก 

การมีส่วนร่วมในโครงการ GGGI ของไทยยูเนี่ยนสะท้อนให้เห็นถึงพันธกิจที่บริษัทมีต่อการแก้ปัญหามลพิษที่เกิดจากพลาสติกในท้องทะเล ซึ่งสอดคล้องกับ SeaChange® กลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทที่มุ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลก

“การทิ้งอุปกรณ์จับปลาเป็นหนึ่งในภัยที่คุกคามสัตว์ในทะเลของเราที่ร้ายแรงที่สุด ทำให้ปริมาณปลาลดลงและทำให้สัตว์เข้าไปติดกับอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังทำอันตรายและทำลายชีวิตของสัตว์นับล้านในแต่ละปี” โจเอล บาซิอุค เลขาธิการโครงการ Global Ghost Gear Initiative กล่าว “นับเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเช่น ไทยยูเนี่ยนมาร่วมกับองค์การนอกภาครัฐ รวมทั้งภาครัฐและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในการปรับปรุงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเล การปกป้องสัตว์ทะเล และการดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน”

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Food and Agriculture Organization: FAO) ประเมินว่า ในแต่ละปี มีปริมาณพลาสติกเข้าสู่ทะเลราว 8 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นขยะที่มาจากในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวดพลาสติกและเศษพลาสติก 

การทิ้งอุปกรณ์จับปลา และอุปกรณ์สูญหายกลางทะเล หรือที่รู้จักกันว่า “อุปกรณ์ผี” คิดเป็นอย่างน้อย 10% ของจำนวนขยะทั้งหมด และก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบนิเวศ และปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ขยะเหล่านี้เกยตื้นขึ้นมาบนชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง เป็นภัยต่อการเดินเรือ ส่งผลกระทบต่อปริมาณปลาทั่วโลก และเป็นอันตรายต่อสัตว์ในท้องทะเล อีกทั้งขยะเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้อุปกรณ์จับปลาอื่นๆ สูญหายขณะกำลังใช้งาน

ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน  กล่าวว่า ในฐานะที่บริษัทใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติสามารถนำกลับมาใช้ได้ ทั้งในรูปของกระป๋องเหล็กและอะลูมิเนียม และกล่องกระดาษ ไทยยูเนี่ยนประเมินว่า วิธีแสดงออกถึงการให้ความสำคัญในเรื่องมลพิษที่เกิดจากพลาสติกที่ดีที่สุดคือ การให้การสนับสนุนงานที่มุ่งสู่การลดปริมาณอุปกรณ์ที่ถูกทิ้งไว้ในทะเล 

“งานวิจัยระบุว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของเศษขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในทะเลมีส่วนมาจากการจับปลา” ดร. แดเรี่ยน กล่าว “การลดปริมาณอุปกรณ์จับปลาที่ถูกทิ้งไว้ในทะเล เป็นกุญแจไปสู่ความมั่นใจว่าท้องทะเลจะยั่งยืนในวันนี้และสำหรับคนรุ่นใหม่ ประเด็นนี้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก และระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล รวมถึงผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และชุมชนรอบชายฝั่ง” 

ประเด็นเรื่องมลพิษจากพลาสติกในท้องทะเลยังมีผลต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 3 ประการ ที่ไทยยูเนี่ยนมุ่งเน้นให้ความสำคัญ นั่นคือ การขจัดความหิวโหย การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์มหาสมุทรและการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าประเด็นนี้ไม่เป็นเพียงประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียของไทยยูเนี่ยนเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อบริษัทซึ่งมุ่งสนับสนุนในส่วนที่บริษัทสามารถผลักดันได้โดยตรง

“ไทยยูเนี่ยน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารทะเล และสามารถขับเคลื่อนได้ในระดับสากลซึ่งมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสูง เรามุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ แนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การมีท้องทะเลที่สะอาดขึ้น ปลอดภัยขึ้น” มร.บาซิอุคกล่าว

###

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ 

  1. ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SeaChange® กลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนได้ที่ www.seachangesustainability.org.
  2. โครงการ GGGI มุ่งปรับปรุงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเล ปกป้องสัตว์ในท้องทะเล และดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน 
  3. โครงการนี้เปิดตัวในเดือนกันยายน ปี 2558 และตั้งขึ้นโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา โครงการ GGGI นับเป็นโครงการแรกที่มุ่งแก้ปัญหาการทิ้งอุปกรณ์จับปลาที่เกิดขึ้นในระดับโลก


เกี่ยวกับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป


บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่งส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมากว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.35 แสนล้านบาท (4.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 49,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน 

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu ,King Oscar, และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation - ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่องมาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว จนส่งผลโดยรวมให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557  และในปี 2559 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่สามติดต่อกัน  นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี  FTSE4Good Emerging Index อีกด้วย

เกี่ยวกับ โครงการ GLOBAL GHOST GEAR INITIATIVE (GGGI)

โครงการ GGGI มุ่งปรับปรุงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเล ปกป้องสัตว์ทะเลในท้องทะเล และดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน 

โครงการนี้เปิดตัวในเดือนกันยายน ปี 2558 นับเป็นโครงการแรกที่ริเริ่มในการแก้ปัญหาการทิ้งอุปกรณ์จับปลาที่เกิดขึ้นในระดับโลก จุดแข็งของ GGGI คือการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากหลายฝ่ายเช่น อุตสาหกรรมประมง ภาคเอกชน นักวิชาการ ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรนอกภาครัฐ โดยผู้มีส่วนร่วมทุกหน่วยงานมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการใช้อุปกรณ์จับปลาทั้งในระดับท้องถิ่น ในระดับภูมิภาค และในระดับโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ghostgear.org 

เกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ทำหน้าที่ปกป้องสัตว์มากว่า 50 ปี โดยมุ่งทำงานเพื่อให้สัตว์มีชีวิตที่ดีขึ้น กิจกรรมขององค์กรประกอบไปด้วยการทำงานร่วมกับบริษัทต่าง เพื่อสร้างความตระหนักถึงมาตรฐานความเป็นอยู่ของสัตว์ที่บริษัทเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้อง การทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อป้องกันการค้า การติดกับดัก หรือการฆ่าสัตว์ป่าอย่างโหดร้าย รวมทั้งช่วยเหลือสัตว์และดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่ต้องพึ่งพาสัตว์พวกนั้นในสถานการณ์ภัยพิบัติ  

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกผลักดันผู้บริหารให้เห็นความสำคัญในการยกเรื่องสัตว์เป็นวาระระดับโลก รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนร่วมดูแลสัตว์และช่วยให้สัตว์มีชีวิตที่ดีขึ้น

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้ที่  www.worldanimalprotection.org 

สำหรับสื่อมวลชน ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ไทยยูเนี่ยน

เอเชีย/ทั่วโลก 

คริสโตเฟอร์ ฮิวจ์ 
หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารองค์กรกลุ่มความยั่งยืนและนวัตกรรม
โทรศัพท์: +66.6.2594.1089
อีเมล: Christopher.Hughes@thaiunion.com 

ประเทศไทย

วิสาขา จันทกิจ
รองผู้จัดการฝ่ายการสื่อสารองค์กร ด้านความความรับผิดชอบต่อสังคม
โทรศัพท์: +66.8.1.845.7316
อีเมล: Wisaka.Chantakit@thaiunion.com 

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก 

ไค อาคแรม 
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ​
โทรศัพท์ : +1 646 460 5807
อีเมล: kaiakram@worldanimalprotection.org