มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล แต่งตั้งผู้บริหารไทยยูเนี่ยนนั่งประธานบอร์ดมูลนิธิฯ

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากลแต่งตั้งเควิน บิกซ์เล่อร์ ผู้อำนวยการกลุ่มการจัดซื้อวัตถุดิบปลาของไทยยูเนี่ยนขึ้นนั่งประธานบอร์ดมูลนิธิฯ และวิลเลียม กิบบอนส์-ฟลาย อดีตนักเจรจาด้านประมงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริการ่วมเป็นกรรมการมูลนิธิฯ

15 เมษายน 2564, วอชิงตัน ดีซี – มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล หรือ International Seafood Sustainability Foundation (ISSF) ได้ประกาศแต่งตั้งเควิน บิกซ์เล่อร์ ขึ้นเป็นประธานกรรมการมูลนิธิฯ ปัจจุบันเควินดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่ม การจัดซื้อวัตถุดิบปลา บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รับหน้าที่แทนลูเซียโน ปิโรวาโน ผู้อำนวยการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัทโบลตัน ฟู้ด ประธานกรรมการมูลนิธิคนก่อน

ด้านวิลเลียม กิบบอนส์-ฟลาย อดีตรักษาการรองเลขาธิการด้านมหาสมุทรและการประมง กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิฯ และ ดร. โรฮาน เคอร์รี่ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์และมาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการบริการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากทะเล หรือ Marine Stewardship Council (MSC) ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิฯ

“ดิฉันขอขอบคุณคุณลูเซียโน ปิโรวาโน ที่ได้ทุ่มเททำงานในตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฯ มาโดยตลอดวาระที่ดำรงตำแหน่ง มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากลได้ประกาศใช้มาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่นที่สุด รวมแล้ว ถึง 30 มาตรการด้วยกัน มูลนิธิฯ ยังได้วิจัยการจับปลาด้วยซั้ง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ย่อยสลายได้และไม่ใช้อวน สร้างแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนที่สำคัญซึ่งรวมถึงรายชื่อเรือประมงที่ใช้วิธีการจับปลาอย่างยั่งยืน คุณลูเซียโนได้นำมูลนิธิผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการระบาดของโควิด-19 “ ซูซาน แจ็คสัน ประธานมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล กล่าว

“คุณลูเซียโนและดิฉันรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ส่งมอบตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฯ นี้ให้กับคุณเควิน จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน คุณเควินมีประสบการณ์ในการทำงานด้านความยั่งยืนและการจับปลาเชิงพาณิชย์มาอย่างยาวนาน ซึ่งจะสามารถนำมุมมองใหม่ๆ มาใช้กับการทำงานในประเด็นต่างๆ ที่มูลนิธิให้ความสำคัญ ดิฉันยินดีที่คุณเควินจะเข้ามาบริหารมูลนิธิฯ ต่อไป”

เควิน บิกซ์เลอร์ กล่าวว่า “ในฐานะที่ไทยยูเนี่ยนเป็นหนึ่งในบริษัทฯ ที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล เราสนับสนุนพันธกิจของมูลนิธิฯมาตั้งแต่เริ่มต้น และผมรู้สึกภูมิใจที่ได้รับตำแหน่งนี้และมีโอกาสได้ร่วมงานกับผู้นำด้านความยั่งยืนที่มีความสามารถเพื่อผลักดันให้เกิดความยั่งยืนในการทำประมงทูน่าในระยะยาว”

คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากลประกอบด้วยผู้นำจากทั่วโลก ทั้งจากองค์กรอิสระ วิทยาศาสตร์ทางทะเล หน่วยงานรัฐบาล และภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารทะเล นอกจากนี้หน้าที่กำกับดูแลและความไว้วางใจที่ได้รับแล้ว คณะกรรมการมีหน้าที่ผลักดันพันธกิจของมูลนิธิฯ ให้สำเร็จ ซึ่งรวมถึงการนำมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ซึ่งมีบริษัทต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรตอบรับให้ความร่วมมือ

รายชื่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ท่านอื่นๆ

  • ดร. ทรานฟอร์ม อาโคโร ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงในมหาสมุทรแปซิฟิกและอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภาคีความตกลงนาอูรู
  • จอห์น คอนเนลลี ประธาน สถาบันการประมงแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
  • ดร. โรฮาน เคอร์รี่ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์และมาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการบริการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากทะเล
  • ดร. กิวเซปเป ดิ คาร์โล หัวหน้านักอนุรักษ์ กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล
  • จาวิเยร์ จาราท์ เลขาธิการ องค์กร Cepesca
  • บิล โฮลเดน ประธาน คณะกรรมาธิการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสิ่งแวดล้อม และผู้จัดการอาวุโสการประมงทูน่า สำนักงานคณะกรรมการบริการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากทะเล
  • ซูซาน แจ็คสัน ประธานมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล
  • อิชิโร โนมูระ ที่ปรึกษานโยบายการประมง กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและการประมง ประเทศอินโดนีเซีย
  • ดร. วิคเตอร์ เรสเตรโป รองประธานด้านวิทยาศาสตร์ มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล
  • ดร. มาร์ติน ซาเมนยิ ศาสตรจารย์ด้านนิติศาสตร์และอดีตผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรทางทะเลและความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยวูลลองกอง

###

เกี่ยวกับ เควิน บิกซ์เลอร์

เควิน บิกซ์เลอร์ได้ร่วมงานกับมูลนิธิเป็นระยะเวลาหลายปีที่เควินได้ทำงานกับไทยยูเนี่ยนในตำแหน่งต่างๆ โดยตั้งแต่ปี 2560 เควินเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มการจัดซื้อวัตถุดิบปลา รับผิดชอบในด้านกลยุทธ์และการจัดหาวัตถุดิบปลาทั่วโลกให้กับบริษัทฯ เควินทำงานกับไทยยูเนี่ยนมายาวนานถึง 15 ปี
เควินมีประสบการณ์และการความรู้ความสามารถในอุตสาหกรรมการประมงในทุกแง่มุม เควินเติบโตจากครอบครัวที่ทำธุรกิจประมงทูน่าในหมู่เกาะแปซิฟิกและใช้เวลาในวัยเด็กอยู่กับเรือประมง เควินสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลีส ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปี 2546 อีกทั้งยังเป็นนักอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

เควินยังดำรงตำแหน่งกรรมการมูลนิธิเพื่อการวิจัยด้านการประมงอเมริกันในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และเป็นที่ปรึกษาให้กับมูลนิธิ Rose Bowl Legacy

เกี่ยวกับ ชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี อินเตอร์เนชั่นแนล

ชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งขึ้นในปี 2457 และเป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงรสชาติอร่อยและมีการจัดหารอย่างมีความรับผิดชอบ นอกจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว ยังมีสูตรอาหารและข้อมูลการวางแผนมื้ออาหารเชิงลึกที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่รักในอาหารทะเลได้ลองไอเดียใหม่ๆ ในการทำอาหาร ชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้ง ทูน่า แซลมอน หอยลาย ปู หอยนางรม กุ้ง ปลาแมคเคอเรล ปลาคิปเปอร์ ปลาซาร์ดีน ทั้งบรรจุกระป๋อง ถ้วย และถุง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือกต่างๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา

บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอล เซกุนโด แคลิฟอร์เนีย บริษัทฯ มีนโยบายจัดหาวัตถุดิบจากทั่วโลก โดยการประมงที่ใช้วิธีการที่มีความรับผิดชอบ และบรรจุภัณฑ์โดยเทคโนโลยีขั้นสูงในโรงงานที่เมืองลีออนส์ จอร์เจีย และโรงงานอื่นๆ ที่บริษัทได้ทำการจ้าง บริษัทมีทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ และมีประวัติอันยาวนานกว่า 300 ปี ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค

ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท ทั้งสูตรอาหาร คำแนะนำด้านโภชนาการ ตลอดจนการวางแผนมื้ออาหาร และข้อมูลผลิตภัณฑ์ล่าสุดได้ที่
เว็บไซต์ www.chickenofthesea.com
เฟสบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/ChickenoftheSea
ทวิตเตอร์ https://twitter.com/COSMermaid
ทวิตเตอร์ http://instagram.com/ChickenOfTheSeaOfficial.

เกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล
มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล เกิดจากความร่วมมือในระดับสากลของบริษัทอาหารทะเล ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมง องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และกลุ่มผู้เดินเรือประมง ที่ต้องการผลักดันการอนุรักษ์ปลาทูน่าในระยะยาวโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ การจัดการอุปกรณ์การประมง การลดปลาที่ถูกจับโดยไม่ตั้งใจ ระบบนิเวศน์ทางทะเล การบริหารจัดการการจับปลา และการประมงผิดกฎหมาย และต้องการช่วยให้การประมงทูน่ามีความยั่งยืนตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการบริการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากทะเล หรือ MSC โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ iss-foundation.org และติดตามได้ทาง Facebook, Twitter, Instagram, YouTube และ LinkedIn.

###