ทียูสวนกระแสเผยผลประกอบการปี 2558 ทำสถิติยอดขายและกำไรสูงสุด

  • ผลกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ก่อนหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษจ่ายครั้งเดียว) 6.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2557
  • ยอดขายรวมของบริษัทสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 125.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2557
  • กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อม 11.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2557
  • กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.11 บาท, เพิ่มขึ้น 1.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2557
  • TU มีแผนจะจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.31 บาท

กรุงเทพฯ - 23 กุมภาพันธ์ 2559 - บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู แถลงรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2558 และผลประกอบการประจำปี 2558 โดยผลประกอบการประจำปี 2558 มีกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ก่อนหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) คือ 6.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.1 เปอร์เซนต์ จาก 5.1 พันล้านบาทเมื่อปี 2557 นอกจากนั้น ทียู ยังสามารถทำยอดขายรวมสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่องอีกปีหนึ่งด้วย ซึ่งมียอดขายรวมที่ 125.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อน และเมื่อหักค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มาจากผลการดำเนินงานแบบจ่ายครั้งเดียว ตัวเลขกำไรสุทธิก็ยังทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.3 พันล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อม (EBITDA) ก็สามารถทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยเช่นกันเพิ่มขึ้นสูงสุด เท่ากับ 11.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

สำหรับผลประกอบการที่เติบโตเช่นนี้เป็นผลมาจากผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ของแบรนด์อาหารทะเลของไทยยูเนี่ยนในภูมิภาคยุโรป ความสำเร็จของการดำเนินงานของกิจการที่ทียูเข้าซื้อเมื่อเร็ว ๆ นี้ อย่าง เมอร์อไลลันซ์ (ผู้นำปลาแซลมอนรมควันแช่เย็นในยุโรป) คิงออสการ์ (แบรนด์ปลาซาร์ดีนพรีเมี่ยมระดับโลก) และโอไรออน ซีฟู้ด (ผู้จำหน่ายกุ้งล็อบสเตอร์รายใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ) รวมถึงการฟื้นตัวของกิจการแปรรูปกุ้งในประเทศไทย และความสำเร็จในการปรับโครงสร้างองค์กรของ USPN (ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในสหรัฐฯ) นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินเหรียญสหรัฐต่อเงินบาทไทยยังส่งผลบวกอีกด้วย อย่างไรก็ตามยังเป็นปีที่มีความท้าทาย ยกอย่างเช่น ความผันผวนของสกุลเงินยูโร ราคาวัตถุดิบปลาทูน่าและกุ้งที่ตกต่ำลง ความวิตกกังวลจากประเทศผู้นำเข้าอาหารทะเลหลักของทียู ต่อกรณีประเด็นของความยั่งยืนทางทะเลในประเทศไทย รวมถึงการยกเลิกการเข้าซื้อกิจการ บับเบิลบี

ทั้งนี้ผลประกอบการประจำปีควรจะต้องโดดเด่นมากกว่านี้ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ซึ่งไม่ได้มาจากการดำเนินงาน อย่างค่าใช้จ่ายจากการเพิ่มทุนและเพิ่มเงินกู้ (เป็นผลสืบเนื่องจากการยกเลิกการเข้าซื้อกิจการ บับเบิลบี เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2558) ค่าใช้จ่ายสำหรับปรับโครงสร้างธุรกิจการประมง และค่าใช้จ่ายปลีกย่อยที่เกิดขึ้นในครั้งเดียว หากไม่มีค่าใช้แบบจ่ายครั้งเดียวเหล่านี้กำไรสุทธิปี 2558 ควรจะเป็น 6.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.1 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนหน้า

เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายแบบจ่ายครั้งเดียวเหล่านี้เกิดขึ้นในไตรมาสที่สี่ ดังนั้นกำไรสุทธิจึงลดลงเป็น 757 ล้านบาท ถึงแม้ยอดขายไตรมาสที่สี่จะสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 33.3 พันล้านบาท บาท หรือ 930 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้กำไรสุทธิปกติ (ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการที่แท้จริง) ควรจะเป็น 1,534 ล้านบาท อย่างไรก็ตามผลประกอบการยังคงเป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากในไตรมาสที่สี่มักจะเป็นช่วงเวลาที่ไม่คึกคักนัก นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ได้เคยประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสที่ดีที่สุดใน

ประวัติการณ์เมื่อไตรมาสที่สามของปี 2558 ในสกุลเงินเหรียญสหรัฐ (1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 32.8 พันล้านบาท) กอปรกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาทในช่วงปลายปี 2558 ส่งผลให้ยอดขายรวมของไตรมาสที่สี่สูงที่ที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อคิดเป็น สกุลเงินบาท ทางด้าน นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ปีนี้นับเป็นปีที่เยี่ยมยอดที่สุดอีกปีหนึ่งของไทยยูเนี่ยน ด้วยยอดขายและกำไรสุทธิที่สูงเป็นประวัติการณ์ ผลประกอบการปี 2558 ได้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการเติบโตได้ แม้อยู่ภายใต้ความท้าทายนานับประการที่ประเทศไทยและอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก จะเผชิญอยู่ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินที่ผันผวน การปรับตัวลงของราคาปลา

ทูน่าและกุ้ง สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้ประเด็นด้านความยั่งยืนที่ประเทศไทยประสบอยู่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการ สร้างผลประกอบที่เหนือกว่าเกณฑ์อุตสาหกรรม ถึงแม้ว่ายอดขายรวมของเราจะต่ำกว่าเป้าเล็กน้อย แต่กำไรสุทธิของเราก็ชดเชยได้เป็นอย่างดีและช่วยให้เราสร้างสถิติใหม่ได้อีก ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นนี้ ต้องขอขอบคุณทีมงานของเราที่พยายามอย่างหนักในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้น ทุนเพื่อเพิ่มส่วนต่าง อีกทั้งการควบรวมกิจการ คิงออสการ์ และ เมอร์อไลลันซ์ เข้ามาในไทยยูเนี่ยน ดังนั้นหากไม่มีค่าใช้จ่ายแบบจ่ายครั้งเดียวที่เกี่ยวกับการเข้าควบซื้อ กิจการ และการปรับโครงสร้างธุรกิจประมงของเราในไตรมาสที่ 4 ด้วยแล้วกำไรสุทธิของเราจะเติบโตอย่างโดดเด่นมากกว่านี้"

"สถานะทางการเงินของเราได้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องด้วยกำไรก่อนดอกเบี้ยภาษีเงินได้และค่าเสื่อม (EBITDA) ที่แข็งแกร่ง และกระแสเงินสดที่โตขึ้นได้ด้วยต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลงและการบริหารจัดการ สินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ช่วยให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E ratio) ลงลงเหลือ 0.75 เท่า จากเดิม 0.85 เท่า เมื่อปี 2557 นอกจากนี้หนี้สุทธิของเรายังลดลงเหลือ 36 พันล้านบาท จากเดิม 40 พันล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว"

เมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายรวมในปี 2558 ธุรกิจปลาทูน่ายังคงมีส่วนแบ่งมากที่สุดโดยนับเป็น 37เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมด ตามด้วยธุรกิจกุ้ง 29 เปอร์เซ็นต์ ปลาแซลมอน 9 เปอร์เซ็นต์ อาหารสัตว์ 7 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรล 6 เปอร์เซ็นต์ และผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและอื่นๆ อีก 12 เปอร์เซนต์ และในปี 2559 จะมีการจัดหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่ง แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ อาหารทะเลสำเร็จรูปพร้อมปรุง 47 เปอร์เซนต์ ธุรกิจอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 40 เปอร์เซนต์ และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และอื่นๆ 13 เปอร์เซนต์ ทั้งนี้การจัดหมวดหมู่ใหม่นี้จะอธิบายถึงการเติบโตและแนวโน้มอัตราการทำกำไร ของธุรกิจ โดยเน้นที่การตอบสนองช่องทางการจัดจำหน่ายหลักที่ต่างแตกกันของหมวด ผลิตภัณฑ์เหล่านี้

โดยในปัจจุบัน ยอดขายจากแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของเราเองยังคงที่อยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 ส่วนที่เหลือคือการผลิตขายแบบรับจ้างผลิต ในขณะเดียวกัน ตลาดสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเราที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 ตามด้วยยุโรป 29 เปอร์เซ็นต์ ตลาดในประเทศ 8 เปอร์เซ็นต์ ญี่ปุ่น 6 เปอร์เซ็นต์ และประเทศอื่นๆ รวมกันอีก 14 เปอร์เซ็นต์

ในขณะที่มีความท้าทายต่อยอดขายรวมของเราในธุรกิจปลาทูน่า เนื่องด้วยการลดต่ำลงของราคาวัตถุดิบและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น เรายังสามารถบริหารจัดการเพื่อผลกำไรให้ได้มากกว่าเมื่อปีก่อน ทางด้านธุรกิจกุ้งก็ประสบผลดีเช่นเดียวกัน ทางด้านธุรกิจล็อบสเตอร์ใหม่ของแบรนด์ ชิคเก้นออฟเดอะซี ผ่านทางบริษัท โอไรออน ก็ได้สร้างฐานการเป็นผู้นำตลาดในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนธุรกิจที่โดดเด่นด้วยทั้งยอดขายรวมและกำไรสุทธิที่สูงขึ้นได้แก่ ธุรกิจปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาแซลมอน โดยได้ผลดีจากการเข้าควบซื้อกิจการคิง ออสการ์ และเมอร์อไลลันซ์ ช่วงปลายปี 2557 ทางด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงก็ได้ฟื้นฟูขึ้นจนทำกำไรขึ้นได้ภายหลัง การปรับโครงสร้างบริษัท US Pet Nutrition ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2557

จากผลประกอบการที่เข้มแข็งในปี 2558 ทางบริษัทจึงมีทัศนคติที่เป็นบวกสำหรับปี 2559 นี้ แม้สภาพเศรษฐกิจโลกจะพันผวนและผลกระทบที่ตามมาทางด้านราคาของสินค้าอุปโภค บริโภค

นายธีรพงศ์ กล่าวเสริมว่า "เราอยู่ในจุดที่พร้อมที่จะสร้างผลงานที่ดีในปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่เราสามารถใช้เป็นฐานในการเริ่มต้นสร้างความเจริญโตขึ้น โดยในปีนี้เราจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ หลายโครงการ อีกทั้งการผลักดันอย่างต่อเนื่องเพื่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ มุ่งเน้นการบริการลูกค้ากลุ่มเซอร์วิส เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร แนวทางการบริการอาหารทะเลให้กับลูกค้าในตลาดเกิดใหม่ทั้งตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ดังนั้น การเติบโตจะถูกขับเคลื่อนด้วยแนวทางธุรกิจใหม่ๆ นี้ กอปรกับการควบรวมกิจการ รูเก้นฟิช ผู้นำอาหารทะเลในประเทศเยอรมนี ที่เราพึ่งเข้าซื้อหุ้นมาได้ 51 เปอร์เซ็นต์มาเป็นสมาชิกล่าสุดของครอบครัวไทยยูเนี่ยน "

นายธีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การจะได้มาซึ่งผลประกอบการตามที่เราคาดหวัง เราจะไม่สามารถทำได้โดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งในความคิดและการกระทำ แม้ประเทศไทยจะเผชิญความท้าทายอย่างที่เป็นอยู่ เราก็ยังมุ่งมั่นเพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานของเราปลอดจากประเด็นทางด้านแรงงาน และสิ่งแวดล้อมและตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านนี้ เราถือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญมากในฐานะโอกาสทางกลยุทธ์ที่ จะเติบโตแทนที่จะเป็นภาระ เราจะยังมุ่งมั่นเพื่อผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ผู้ผลิตของเราและขยายออก ไปถึงคู่ค้าของเราในวงกว้างอีกด้วย"

ถึงแม้จะมีการยกเลิกเข้าซื้อกิจการ บับเบิลบี ในปลายปี 2558 ทางบริษัทฯ ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายปี 2563 ด้วยยอดขาย 8 พันล้านเหรียญโดยได้มีการปรับปรุงแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์

นายธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "โครงการใหม่ๆ ที่กล่าวมา บวกกับการขยายกิจการอย่างต่อเนื่องของไลน์ธุรกิจที่เรามีอยู่เดิมจะยังไม่พอ เพียงที่จะบรรลุเป้าหมายปี 2563 ดังนั้นเรายังจะคงแสวงหาลู่ทางในการเข้าควบซื้อกิจการใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มเราและด้านยอดขายรวม เรากำลังมองหาโอกาสต่างๆ ที่จะสร้างยอดขายเพิ่มขึ้น 1 - 1.5 พันล้านในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยทีมผู้บริหารที่มีอยู่เดิม และผู้บริหารใหม่ ด้วยความสามารถของเรา เชื่อว่าจะไปสู่เป้าหมายปี 2563 ได้อย่างแน่นอน"

ทางบริษัทฯ ขอประกาศด้วยว่าจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลสำหรับครึ่งปีหลังของปี 2558 ที่ 0.31 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเดิมด้วยการจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โดยจะจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง