ไทยยูเนี่ยนสนับสนุนกฏหมายการประมงฉบับใหม่


กรุงเทพฯ บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขอแสดงความชื่นชมรัฐบาลไทยในการออกพระราชกำหนดการประมงฉบับใหม่ และสนับสนุนให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรม การประมงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ สร้างมาตรฐานด้านธรรมภิบาลในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการประมง ต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU fishing) มีการติดตามตรวจสอบควบคุมการทำประมงอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ขจัดการใช้แรงงานบังคับและปรับปรุงสภาพการทำงานและสวัสดิการแรงงาน สนับสนุนการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตลอดจนถึงการหาตัวผู้มีส่วนในการค้ามนุษย์และนำมาดำเนินการลงโทษทางกฎหมาย

ด้านนายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการออกพระราชกำหนดฉบับนี้ว่า การจะให้แน่ใจว่าอุตสาหกรรมของเราดำเนินงานด้วยความสุจริตและเคารพต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิมนุษยชนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายรัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน ส่วนพระราชกำหนดการประมงฉบับใหม่นี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการ

บูรณาการระบบการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย โดยเริ่มตั้งแต่เรือประมง ไปจนถึงโรงงานผลิต รวมถึงการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นการสร้างมาตรฐานที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้ประกอบการทุกราย และเป็นการกำจัดผู้ประกอบการรายใดที่ไม่ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน หรือ ประกอบการอย่างไร้จริยธรรม”

ไทยยูเนี่ยน มีความมุ่งมั่นมาตลอดที่จะให้แน่ใจว่าการประกอบการของบริษัทเราจะต้องถูก ต้องตามกฎหมายทั้งไทยและสากล ดังจะประจักษ์ได้จากการที่เราเข้าร่วมเป็นเป็นสมาชิก United Nation’s Global Compact (UNGC) เข้าร่วมโครงการการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี (Good Labour Practices หรือ GLP ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) ทั้งนี้เราได้ร่วมโครงการ GLP ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมานานกว่าสองปีติดต่อกันแล้วเพื่อสร้าง มาตรฐานการปฏิบัติงานให้ปลอดจากการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ ส่งเสริมให้แรงงานทราบถึงสิทธิในการรวมกลุ่ม ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สภาพการทำงานที่ปลอดภัย มีสวัสดิการดูแลสุขภาพ ตลอดจนได้รับเอกสารการทำงานและสัญญาว่าจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไทยยูเนี่ยนบังคับใช้มาตรฐานดังกล่าวตลอดทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงบนเรือประมง ไร่หรือฟาร์ม และผู้ผลิตในทุกระดับ

นอกเหนือจากนี้ ทางบริษัทยังได้บังคับใช้อีกหลายมาตรการในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อคุ้มครองแรงงาน อาทิ

  • ไทยยูเนี่ยน ได้เริ่มใช้จรรยาบรรณธุรกิจและแรงงานฉบับใหม่ที่เข้มงวดด้านภาระรับผิดชอบ และความโปร่งใสตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น
  • ไทยยูเนี่ยน เป็นสมาชิกคณะทำงานห่วงโซ่อุปทานกุ้งที่ยั่งยืน (Shrimp Sustainable Supply Chain Task Force) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมระดับสากลประกอบด้วยรัฐบาลชาติต่าง ๆ ผู้ค้า ผู้ผลิต และ เอ็นจีโอ ชั้นนำต่าง ๆ มีเป้าหมายที่จะพลักดันให้ห่วงโซ่อุปทานของไทยปลอดแรงงานบังคับ (forced labor) ด้วยวิถีทางภาระรับผิดชอบ (Accountability) การตรวจสอบยืนยัน และ ความโปร่งใส
  • ไทยยูเนี่ยน กำลังทำการตรวจสอบภายในถึงห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในสิ้นปี และได้รับการตรวจสอบจาก UL ผู้ตรวจสอบอิสระภายในปี 2559
  • ไทยยูเนี่ยน ได้เริ่มการอบรบอย่างเป็นทางการสำหรับเรือหาปลาไทย และ บริษัทนายหน้าไทย สำหรับวัตถุดิบของไทยทั้งหมด โดยจะอบรมให้ครบถ้วนภายในสิ้นปีนี้
  • ไทยยูเนี่ยน กำลังดำเนินการปรับเปลี่ยน pre-processing ให้มีการดำเนินการภายในโรงงานของเราเองทั้งหมดเพื่อสร้างความมั่นใจใน มาตรฐานการผลิต และเพื่อควบคุมมาตรฐานการใช้แรงงาน
  • ไทยยูเนี่ยน ได้ร่วมมือกับเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (Migrant Worker Rights Network –MWRN) ในการดำเนินการอบรมแรงงานข้ามชาติให้ทราบและเข้าใจถึงสิทธิที่พึงมีตาม กฎหมายไทย ทั้งนี้พนักงานข้ามชาติของไทยยูเนี่ยน ทุกคนทั่วประเทศจะได้รับการอบรมดังกล่าวภายในกลางปี 2559
  • ไทยยูเนี่ยน ยังร่วมมือกับกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน
  • (Labour Rights Protection Network หรือ LPN) ในโครงการให้คำปรึกษา ให้ความรู้
  • ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ที่พักอาศัย และ การว่าจ้างแรงงานไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในต่างแดน
  • ไทยยูเนี่ยน ยังได้ดำเนินการจัดอบรมแรงงานข้ามชาติเพื่อสนับสนุนให้พวกเขาได้ส่งลูกหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน

นายธีรพงศ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอย้ำอีกครั้งว่านอกจากเรายังมีความมุ่งมั่นในการประกอบการด้วยมาตรฐานความ ยั่งยืนและจริยธรรมสูงสุด เรายังมีความตั้งใจในการทำงานร่วมกับภาครัฐ คู่ค้า และ ผู้ประกอบการทุกรายในอุตสาหกรรม เพื่อช่วยกันขจัดปัญหาการละเมิดแรงงานเหล่านี้ และปรับปรุงพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้าต่อไป เราขอสนับสนุนการกวดขันบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดที่สุด และขอคำมั่นจากผู้ประกอบการทุกรายให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง สำหรับเราแล้วนี้หมายถึงการประกอบการด้วยความโปร่งใสและรับผิดชอบที่สุด”

พระราชกำหนดฉบับดังกล่าวได้ระบุถึงมาตรการการลงโทษ และแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และ ขจัดการปฏิบัติต่อแรงงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปจากอุตสาหกรรมประมง เช่นหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้สามารถถูกลงโทษด้วยการ สั่งพักใบอนุญาตเป็นเวลาถึง 90 วัน และหากมีการกระทำความผิดซ้ำจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ นอกจากนี้ยังมีบทลงโทษอื่น ๆสำหรับผู้ฝ่าฝืนรวมทั้ง

  • การกำหนดโทษทางอาญามีค่าปรับสูงถึง 30 ล้านบาท หรือคิดเป็นห้าเท่าของมูลค่าของสัตว์น้ำที่จับได้แล้วแต่ว่าอย่างใดมีมูลค่า สูงกว่า และหากพบว่ามีการกระทำความผิดซื้อภายในระยะเวลาห้าปีค่าปรับจะเพิ่มขึ้นเท่า ตัว
  • เจ้าของเรือประมงรายใดไม่ออกใบอนุญาตทำงานแก่ลูกเรือจะมีโทษปรับสูงถึง 8แสนบาทต่อลูกเรือหนึ่งคน และยังเพิกถอนใบอนุญาตของเจ้าของเรือและใบอนุญาตของเรืออีกด้วย
  • โรงงานใดที่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายจะถูกปรับสูงถึง 8แสนบาท หากพบว่ามีการใช้แรงงานผิดกฎหมายระหว่าง 1 ถึง 5 คนจะถูกระงับการประกอบกิจการ 10 ถึง 30 วัน และหากพบว่ามีการใช้แรงงานผิดกฎหมายมากกว่า 5 คนจะถูกปิดโรงงาน ทั้งนี้ผู้ประกอบกิจการที่ละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือใช้แรงงานผิด กฎหมายยังต้องโทษทางอาญา มีโทษจำคุกถึงสองปี หรือปรับระหว่าง 2 แสนถึง 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังต้องเสียค่าปรับรายวันอีกวันละ 1 cแสน ถึง 5 แสนบาทตลอดห้วงเวลาที่กระทำความผิดอีกด้วย

ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของไทยยูเนี่ยน ได้ที่เว็บไซต์: http://www.thaiunion.com/th/sustain/sustainability-commitment/sustainability-philosophy.ashx