เล่าสู่กันฟัง เรื่องการประมง และโครงการพัฒนาการประมง

โดย ดร. แดเรียน แมคเบน




ปลาเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งสำหรับให้ประชากรโลกได้บริโภค โดยสัดส่วนการบริโภคมีราว 17 เปอร์เซ็นต์ของการบริโภคโปรตีนทั่วโลก อันที่จริง ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มีการบริโภคโปรตีน ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากการบริโภคปลา และอุตสาหกรรมการประมงและอุตสาหกรรมอาหารทะเลมีการจ้างงาน เกือบ 200 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ทั้งในทางตรงและทางอ้อม 

ความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลรักษาและอนุรักษ์แหล่งโภชนาการและการจ้างงานที่สำคัญนี้

เวลาเราพูดถึงวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวในอุตสาหกรรมการประมงและอาหารทะเล เรามีศัพท์เฉพาะ 2 คำที่มีการพูดถึงกันบ่อย คำแรกคือ การทำประมง และคำที่สองคือ โครงการพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Projects: FIPs)  เนื่องจากมีการใช้ศัพท์ทั้งสองคำนี้บ่อยครั้ง จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนควรมีความเข้าใจในคำศัพท์นี้ตรงกัน เพื่อให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนร่วมกัน

การทำประมงคืออะไร




โดยทั่วไป การประมง หมายถึง พื้นที่ที่ใช้ในการประมงในหลายรูปแบบเพื่อทำการประมงสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งคำนี้สามารถจำแนกได้หลายความหมาย อาทิเช่น

  • ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่มีการจับสัตว์ทะเล ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่เฉพาะบางแห่งในทะเล
  • แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล บางครั้งเรียกว่า โรงเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ หรือฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • การจับสัตว์ทะเลเพื่อการพาณิชย์ครอบคลุมตั้งแต่การทำประมงโดยชาวประมงคนเดียว ไปจนถึงการทำประมงโดยเรือกองประมง
  • หรือจำแนกตามประเภทของสายพันธุ์อาหารทะเลที่จับหรือเพาะ วิธีการจับ และประเภทของเรือที่ใช้ในการทำประมง

 การทำประมงที่มากเกินไปเป็นภัยที่ส่งผลในวงกว้าง

ความกังวลต่อการทำประมงที่มากเกินไปทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีต่อเศรษฐกิจ สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนหลายล้านคน มีการประเมินว่า เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณปลาเพื่อการพาณิชย์ที่มีอยู่มีการทำประมงมากเกินไป ในขณะที่ราว 60 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการจับระดับสูงสุดหรือใกล้เคียงระดับการจับสูงสุดที่กำหนดไว้ 

การที่จำนวนปลาเกิดใหม่ไม่สามารถทดแทนจำนวนปลาที่ถูกจับไปได้ทัน ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และความสมบูรณ์ของท้องทะเล ความอยู่รอดทางเศรษฐกิจสำหรับชุมชนและอุตสาหกรรม และความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสำหรับประชากรของโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น

 เนื่องจากผู้คนจำนวนอย่างน้อยหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกพึ่งพาอาหารทะเลเป็นแหล่งโภชนาการและการจ้างงาน ดังนั้นความยั่งยืนของการทำประมงจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการดูแลอย่างจริงจัง

 สำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง หรือที่เรียกว่า MSC วางมาตรฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในโลกโดยออกใบรับรองให้กับอาหารทะเลที่มีการจับด้วยวิธีการที่ยั่งยืน

 การทำประมงที่มีการจัดการอย่างดี ย่อมทำให้ปริมาณสำรองของปลาในท้องทะเลมีอยู่อย่างยั่งยืนในระยะยาว และรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศจะได้รับการรับรองตามมาตรฐานนี้ รวมถึงได้รับอนุญาตให้ติดฉลาก  MSC บนผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายได้ มาตรฐานการประมงนี้ ได้รับการพัฒนาร่วมกับนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางทะเล ซึ่งสะท้อนจากงานด้านวิทยาศาสตร์ล่าสุดและแนวทางการจัดการที่ดีที่สุด ซึ่งมีการนำไปปรับใช้อย่างกว้างขวางโดยองค์กรจัดการการประมงชั้นนำของโลก

 การทำประมงมากกว่า 300 รายการทั่วโลกได้รับการรับรองมาตรฐาน MSC คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอาหารทะเลที่มาจากการจับรวมทั่วโลก ในขณะที่โครงการของ MSC เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจำนวนการรับรองให้ได้ตามมาตรฐานของ MSC สำหรับการประมงที่มากขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

 โครงการ FIPs ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการประมง



 ในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะทำให้การทำประมงได้รับการรับรองตามมาตรฐาน MSC มากขึ้น โครงการ FIPs เป็นองค์ประกอบสำคัญของแนวคิดนี้

 โครงการ FIPs เป็นความพยายามในการอนุรักษ์ทางทะเลที่สำคัญ ซึ่งมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายทำงานร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการประมง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นพัฒนาแผนเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายที่พวกเขาเผชิญ และร่วมมือกันในการผลักดันแผนดังกล่าว ซึ่งแผนงานดังกล่าว อาจรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบายการประมง การมีมาตรการควบคุมกับจับสัตว์น้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการประมง

 ส่วนสำคัญของโครงการพัฒนาการประมงคือ การติดตามผลการดำเนินงานและการรายงานต่อสาธารณะ เพื่อให้กระบวนการต่างๆ มีความโปร่งใส มีการวางแนวทางปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการ FIPs ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงซึ่งตรงกับความคาดหวังขององค์กรหลักๆ อาทิเช่น Sustainable Fisheries Partnership ขณะที่องค์กร Conservation Alliance for Seafood Solutions ก็มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ FIPs และเป็นองค์กรหลักที่เชื่อมโยงหน่วยงานอนุรักษ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจ ซึ่งกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจร้านค้าปลีกและธุรกิจบริการอาหารในอเมริกาเหนือ

 FIPs อาจให้ความสำคัญกับการประมงอย่างยั่งยืนในแง่มุมที่ต่างกันไป และมีขนาดต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของระบบนิเวศและชุมชนท้องถิ่น โดยโครงการ FIPs ทั้งหมดมีโครงสร้างเดียวกันอันประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักคือ

 การวางเป้าหมายร่วมกันที่มุ่งให้การทำประมงทำได้ตามมาตรฐานของ MSC

  1. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในโครงการ ซึ่งรวมถึงบริษัทต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
  2. การมีส่วนร่วมต้องประกอบไปด้วยการสนับสนุนทางการเงิน และความช่วยเหลือด้านอื่นๆ กับโครงการนอกเหนือไปจากการผลักดันแผนงานอย่างจริงจัง
  3. การให้พันธกิจต่อสาธารณะ โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
  4. แผนงานต้องมีตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ต้องการบรรลุตลอดช่วงเวลาที่กำหนด
  5. การแสดงงบประมาณและกำหนดเวลาซึ่งต้องได้รับการระบุในแผนงานและได้รับความยินยอมจากผู้มีส่วนร่วมโครงการ FIP ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  6. การติดตามและรายงาน เพื่อแสดงให้เห็นความคืบหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอ

 เรากำลังพัฒนาเครื่องมือในการสื่อสารใหม่ๆ ในการรายงานความคืบหน้าของโครงการ FIPs อาทิเช่น การรายงานผ่านเว็บไซต์ www.fisheryprogress.org เพื่อช่วยให้การเดินทางสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น เมื่อมองไปข้างหน้า เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุใดโครงการ FIPs จึงยิ่งมีความสำคัญต่อท้องทะเลโลกและอนาคตของปลาที่ยั่งยืน  

 หากท่านต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SeaChange กลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน ท่านสามารถติดตามได้ที่ http://seachangesustainablity.org.